่ตำนานรัก สะท้านยุทธภพ

ครั้งแรกที่เจอองค์หญิงผู้เลอโฉม ซึ่งเป็นทายาทของราชวงศ์หมิงแห่งชาวฮั่น เขาก็ตกหลุมรักนางขึ้นมาทันที

หญิงสาวผู้มีความหวังอันเจิดจ้า ที่จะรวบรวมชาวฮั่นเพื่อกอบกู้บังลังก์คืน เพื่อเกียรติของชาวฮั่นที่ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินจีน

ชาวหนุ่มตกหลุมรักนางอย่างหาเหตุผลมิได้ ตั้งใจจะทำทุกอย่าง เพื่อการสมหวังในรัก แม้จะต้องต่อสู้กับกองทัพแมนจู ที่ยิ่งใหญ่อหังการ์ ผู้ทรงอำนาจที่สุดในแผ่นดินจีนขณะนี้

ภารกิจสยบรัก และทวงคืนบังลังก์ เพื่อช่วยจึงนางเกิดขึ้น

แม่ทัพคนสำคัญของแมนจู คือคนที่เขาจะฆ่า

แต่ทว่า อะไรจะเกิดขึ้น เมื่อเขารู้ว่า คนที่เขากำลังจะฆ่านั้น คือพ่อแท้ๆของเขาเอง!!!

Tags: นิยายรัก นิยายจีนโบราณ เส้าหลิน ประวัติศ่าสตร์จีน

ตอน: บทที่๓ กำเนิด วัดเส้าหลิน

บทที่๓

หลังพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระศาสดาแห่งศาสนาพุทธ ทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้สามเดือน พระมหากัสปะ พุทธสาวกที่เป็นพระเถระผู้ใหญ่ ได้กระทำการสังคายนารวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าให้สืบทอดตกไปถึงชนรุ่นหลัง

จากนั้นมาก็มีการสังคายนาอีกเป็นครั้งที่สอง และครั้งที่สามที่อินเดียเช่นกัน

ในครั้งที่สามนี้เอง พระเจ้าอโศกมหาราช มหากษัตริย์แห่งอินเดียได้กระทำสังคายนารวบรวมคำสอนพุทธศาสนา จนเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาสมบูรณ์คือพระไตรปิฎก

พ.ศ.๒๗๘ พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระเถระที่เป็นสมณทูตเดินทางจากอินเดียลงมาเผยแผ่พุทธศาสนาที่แผ่นดินจีน

พ.ศ.๒๙๗-๓๓๓ สมัยฉินซีฮ่องเต้ได้เตรียมต้อนรับพระเถระที่เดินทางมาจากอินเดีย สู่พำนักพักอาศัยในแผ่นดินจีน

พระเจ้าเสี้ยวเหวินตี้ ต้องการให้พระเถระชาวอินเดียนาม “ป่าถัว” หรือนามเต็มว่าพระภัทรเถระมาจำวัดและเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยเลือกสถานที่เงียบสงบเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา คือบนยอดขุนเขาสูงตระหง่านเสียดฟ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าของขุนเขาอันศักดิ์สิทธิ์ ตามความเชื่อของชาวจีน

นั่นคือ เทือกเขาซงซาน ซึ่งขุนเขาศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ กษัตริย์ของจีนทุกพระองค์ จะต้องเดินทางมาสักการะ เพื่อเป็นสิริมงคลในการบริหารบ้านเมือง

พระเถระจากอินเดียที่เดินทางมาเผยแผ่พุทธศ่าสนาในจีน อยู่อาศัยและเผยแผ่หลักธรรมคำสอน จนมีลูกศิษย์หลากหลาย เป็นที่ประจักษ์ว่าพระพุทธศาสนาประดิษฐานในแผ่นดินจีนแล้ว กระทั่งท่านละสังขารมรณภาพไป แต่ก็ยังไม่มีลูกศิษย์สานต่อเท่าใดนัก

คณาจารย์ทางอินเดียเห็นว่าแผ่นดินจีน เป็นแผ่นดินกว้างขวาง มีผู้คนอาศัยอยู่มาก พระพุทธศาสนายังเข้าถึงจิตใจของผู้คนไม่เพียงพอทั่วถึงทุกแว่นแคว้น จึงได้ส่งพระเถระเดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่ออีก พระเถระที่ว่านี้มีนามว่าพระโพธิธรรม หรือรู้จักในนาม

“ปรมาจารย์ตั้กม้อ”

ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อได้เดินทางมาสู่อินเดีย เพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา แบบมหายาน นิกายเซน ท่านมุ่งไปที่สถานที่ที่อาจารย์จากอินเดียเคยมาพำนักอาศัย เพื่อสืบสานต่อ นั่นคือเทือกเขาซงซาน โดยขึ้นไปบำเพ็ญเพียรบนเทือกเขา ส่วนรอบบริเวณใกล้ที่ตั้งของวัดเส้าหลิน เป็นเวลาถึง๙ปี

กระทั่งมีคนศรัทธา ถวายตัวเป็นศิษย์ และได้รับนิมนต์มาประจำวัดเส้าหลิน

พ.ศ.๙๒๙-๑๐๗๗ เริ่มก่อตั้งวัดขึ้นที่เทือกที่เทือกเขาซงซาน อำเภอตงฟง เมืองเจิ้งโจว แห่งมณฑลเหอหนาน โดยมีเจ้าอาวาสองค์แรกคือปรมาจารย์ตั๊กม้อ

เมื่อย่างเข้าสู่วัดเส้าหลินท่านก็ปรับสอนการฝึกสมาธิ เมื่อเห็นว่าพระเณรนั่งสมาธิเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายทรุดโทรม จึงคิดค้นการเคลื่อนไหวของธรรมชาติของสัตว์ชนิดต่างๆ ตอนที่ท่านอยู่ในป่าถ้ำเป็นเวลา๙ปี

โดยเอากิริยาเคลื่อนไหวนั้นมาปรับใช้คู่กับการทำสมาธิ ตามหลักกายเคลื่อนไหวแต่ใจหยุดนิ่ง หรือจิตจดจ่อกับกายที่เคลื่อนไหว เป็นบ่อเกิดสมาธิ โดยเฉพาะหลักวิธีการฝึกกรรมฐานหมวดอานาปานัสสติ ตามหลักพุทธแต่เดิมคือการกำหนดลมหายใจเข้าออก ท่านก็มาปรับใช้เป็นการฝึกลมปราณ

อีกทั้ง ผสมผสานองค์ความรู้ด้านการกำหนดลมหายใจ ตามแนวทางอุปนิษัท ซึ่งเป็นแนววิธีที่ฝึกฝนมาอย่างยาวนานของชาวอินเดีย ท่านตั๊กม้อก็นำวิธีนี้มาปรับเป็นรูปแบบวิชาด้านกำหลดลมปราณในแบบเส้าหลิน

ปรมาจารย์ตั๊กม้อคิดค้นอีกสองคัมภีร์คือ เปลี่ยนเส้นเอ็น เพื่ออายุยืดยาวขึ้น และอีกคัมภีร์คือฝ่ามือพิชิตมาร หรือที่รู้จักกันดีว่าฝ่ามืออรหันต์นั่นเอง

จากนั้นการพัฒนาการสอนก็ดำเนินเรื่อยมา โดยใช้ลมปราณที่ได้จากการทำสมาธิแล้วฝึกใช้ในการเคลื่อนไหวกายใจท่าต่างๆ พลังของสมาธิจะทำให้ส่งพลังในการเคลื่อนไหวกาย นั่นแหละคือที่มาของวิทยายุทธจากเจ้าสำนักเส้าหลินองค์ต่อๆมา

ปรับองค์ความรู้ในการประยุกต์นี้มาใช้ในวิทยายุทธ์ในการต่อสู้ เกิดวิทยายุทธ์ในด้านต่างๆ จากพลังของสมาธิในจิตแสดงพลังออกมาทางเคลื่อนไหวกาย

จากการเคลื่อนกายเชื่องช้าปรับมาเป็นการเคลื่อนกายที่รวดเร็ว เกิดวิชาวิทยายุทธ์ต่างๆ มากหลายกระบวนท่า สืบทอดต่อเนื่องกันมาภายในศิษย์วัดเส้าหลินด้วยกัน

เอาไว้เป็นวิชา ฝึกการต่อสู้ป้องกันตัว และปะทะกับศัตรูที่มารุกรานวัดเส้าหลิน



อัญเญาะ มัญเญาะ
เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ : 13 ส.ค. 2564, 21:26:09 น.
แก้ไขครั้งล่าสุด : 13 ส.ค. 2564, 21:26:09 น.

จำนวนการเข้าชม : 277





<< องค์หญิงเหมยหลิง หายไปกับนางพญาผมขาว   
เข้าระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็นด้วย weblove account