ขุนเขา สายน้ำ คาวเลือด
การมีชีวิตอยู่อาจง่ายดายสำหรับผู้คนนับพันนับหมื่นแต่สำหรับ "วาตะ" แล้วมันไม่ง่ายเลย หมื่นพันคมดาบในที่ลับ ร้อยเลห์พันมายาในที่แจ้ง ท่ามกลางนครหลวงอันงามวิจิตรกลับเป็นสมรภูมิที่ชุ่มโชกไปด้วยเลือด

ท่ามกลางขุนเขาที่ตั้งตระง่านสูงชัน ณ แดนเหนือ มีนครหลวงแห่งหนึ่งนามว่าพิงคราช อาสัยสายน้ำที่ไหล่รินผ่านหล่อเลี้ยงสรรพชีวิตประหนึ่งโลหิตหล่อเลี้ยงเรือนร่าง อาศัยขุนเขาและผืนป่าต่างร่างกาย ขับเคลื่อนความเป็นไปมายาวนานนับพันปี

มาตรแม้นขุนเขาแลสายน้ำจะหล่อเลี้ยงชีวิตให้ดำเนินสืบไป แต่หาได้ชะล้างจิตใจมวลมนุษย์ให้ใสสะอาดดุจธรรมชาติสรรสร้างก็หาไม่ นครหลวงที่มีประวัติยาวนานนับพันกลับกลายผลัดเปลี่ยนเจ้าชีวิตนับร้อย และผู้คนเลือนแสนที่ต้องสังเวยชีวิตเซ่นสรวงบัลลังก์เลือดในยามไร้ศึกสงคราม
Tags: ดร่าม่า,ไทยโบราณ,ชีวิต,นิยายรัก,รัก

ตอน: บทที่ ๑ เปลี่ยนกษัตริย์ผลัดแผ่นดิน

บทที่ ๑ เปลี่ยนกษัตริย์ผลัดแผ่นดิน

ภูผากว้างใหญ่สะท้อนเสียงร้องวานร วิหคฟ้อนเหนือสายธารเชียว* ผืนฟ้าพสุธาอันกว้างใหญ่ มีสรรพสัตว์ใต้ผืนแผ่นฟ้า ดำรงเลี้ยงชีพชีวาตลอดจนม้วยมรณาสิ้นลมไป เกิดตายคือปกติของธรรมชาติ มีเพียงจิตวิญญาณที่โศกศัลย์ จักดำรงคงอยู่คู่ชีวัน คือคุณธรรมแลความดี

“ข้านี้เกิดมาเพื่อทำประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย” คำนี้ประกาศก้องทั่วผืนแผ่นดินเมืองพิงคราชนคร เมื่อพระเจ้าพังคราชทรงปราบดาภิเษกสืบสันตติวงศ์ต่อจากพระราชบิดาสวรรคตลงเมื่อ ๗ วันที่แล้ว

เสียงโหร้องดังกึกก้องไปทั่วพระนครหลวง พ่อค้า ประชาชนที่มารวมตัวกันเนืองแน่นหน้าลานพระราชวังต่างยินดีปรีดาปราโมทย์เป็นล้นพ้น

พระเจ้าพังคราชในวัยเพียง ๒๖ พระชันษาโบกพระหัตถ์อยู่บนระเบียงพระราชวังให้เหล่าพสกนิกรของพระองค์ แวดล้อมด้วยเหล่าพระชายา องครักษ์ และเสนาอำมาตย์ ขาดก็แต่เพียงพระอัครมเหสีเทวีคู่บารมีของพระองค์

ขณะที่ทั่วทั้งพระนครต่างยินดีปรีชาเฉลิมฉลองกลับมีมุมมุมหนึ่ง ในห้องห้องหนึ่ง ที่เศร้าโศกโศกา

หญิงสาววัย๒๔ ใบหน้าซีดขาวไร้สีเลือด ริมฝีปากกลับดำคล้ำ แม้ใบหน้านางจะซีดขาวแต่ก็ไม่อาจบดบังความงามบนใบหน้าของนางได้เลย นางนอนทอดกายอยู่บนเตียง แวดล้อมไปด้วยผู้คนบนใบหน้าคนเหล้านั้นกลับมีแววตาที่เศร้าสลดเหลือประมาณ บ้างก็ร่ำไห้โศกา บ้างก็ข่มกลั้นหยาดน้ำตา บ้างกล้ำกลืนฝืนทนทรงกายให้ยืนอยู่ไม่หมดลมล้มลงไป

ไกลออกไปไม่เท่าไรนัก มีหญิงรับใช้สองคนอุ้มทารกน้อยวัยสี่ขวบและห้าขวบไว้ ใบหน้าของพวกนางต่างเปื้อนหยาดน้ำตา

เสียงแว่วการเฉลิมฉลองดังมาภายนอก ไม่นานนักประตูห้องก็ถูกเปิดขึ้น มีบุรุษแต่งเครื่องทรงกษัตริย์เดินเข้ามาอย่างรีบร้อน นั่งลงข้างเตียง กุมมีนางไว้แน่น แววตาที่เยือกเย็นสงบนิ่งถูกฉาบทาด้วยความหม่นหมอง ใบหน้าที่งดงามราวกับรูปสลัก กลับยังเรียบเฉยเฉกเช่นเดิม

ไม่ทราบเวลาผ่านไปเนิ่นนานเพียงไร ลมหายใจสตรีที่อยู่บนเตียงแผ่วเบาลงไปทุกที จนสงบแน่นิ่งไม่ไหวติงอีกต่อไป เสนารักษ์ที่ดูอาการสตรีท่านนั้นอยู่ตลอดพลันคุกเข่าลงอย่างเชื่องช้า โคกศีรษะจรดพื้น

บุรุษในชุดกษัตริย์ยังคงกุมมือนางไว้เฉกเช่นเดิม กุมมือนางจนข้อนิ้วปูดโปน ร่างกายไม่ไหวติง แต่คนที่ยืนรายล้อมกลับคุกเข่าลง คารวะสตรีนางนั้นเป็นวาระสุดท้าย

“พระอัครมเหสี” เสียงเรียกที่แผ่วเบาจนแทบไม่ได้ยินของเหล่าผู้คนที่รายล้อม

เสียงร่ำไห้สะอึกสะอื้นระคนกับเสียงเพลงในงานเฉลิมฉลองที่แว่วมาแต่ไกล

ไม่มีผู้ใดทราบจิตใจของพระเจ้าพังคราชในขณะนั้นว่าพระองค์รู้สึกเช่นไรที่สูญเสียพระมเหสีที่พระองค์รักที่สุดในวันที่พระองค์ควรจะยินดีที่สุดเช่นนี้ แม้พระองค์ไม่แสดงท่าทีของความอ่อนแอ่ ความเศร้าโศกออกมาให้ผู้ใดได้เห็นเลย แต่พระองค์ก็มีเลือดเนื้อแลจิตใจเช่นกัน “ถ้ากษัตริย์อ่อนแอไม่เข้มแข็งแล้วประชาชนจะไปพึ่งพิงใคร” เป็นคำกล่าวของพระราชบิดาที่ดังก้องอยู่ในหัวใจของพระองค์ เป็นคำที่คอยข่มกลั้นความอ่อนแอ ความเศร้าเสียใจให้พระองค์ ทั้งยังเป็นแรงผลักดันให้พระองค์ยืนหยัดต่อไปอีกด้วย เพราะผู้ที่เคยแบ่งเบาภาระบนบ่าคู่นี้ มาบัดนี้ได้จากพระองค์ไปแล้ว จิตวิญญาณได้จากจรไปยังที่ที่ไกลแสนไกล แม้พระองค์ยังคงกุมพระหัตถ์นางไว้แต่ก็ไม่อาจฉุดรั้งจิตวิญญาณของนางไว้ได้แม้เพียงเสี้ยวนาทีเลย

...

อันว่าจอมทัพที่ดีย่อมรู้ว่าควรรุกไล่เวลาใด ควรล่าถอยคอยโอกาสเวลาใด ยามใดควรรบ ยามใดควรบ่มเพราะฟื้นฟูกำลังพล

ยามเปลี่ยนกษัตริย์ผลัดแผ่นดินเช่นนี้คือโอกาสที่ฟ้าประทาน น้อยครั้งจะบังเกิด แม่ทัพเสนาอำมาตย์ข้าราชบริพารที่เคยพักดีถวายหัวกับแผ่นดินต้น น้อยนักที่จิตใจจะไม่หวั่นไหว เพราะความเคารพเชื่อใจ ความเลื่อมใสศรัทธา การที่จะเอาชนะใจทหารนั้นต้องอาศัยผลงานแลระยะเวลาเป็นเครื่องบ่มเพาะ ดังนั้นเสาหลักเหล่านี้มีไม่น้อยที่จะหวั่นไหวเอาใจออกหาก

นี้จึงเป็นโอกาสที่เหมาะสมอย่างยิ่ง

๗ วันหลังจากพระเจ้าพังคราชขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา ก็ทราบข่าวว่าเจ้านครชัยบุรีศรีแสนช้าง พระเจ้าสิงหนติได้กรีธาทัพยกพล ๗ หมื่นบุกนครพิงคราช

ทั้งยังส่งสารให้พระเอกชัยกรีธาทัพ เจ้าเมืองสิทธานคร เมืองประเทศราชในนครชัยบุรีศรีแสนช้าง กรีธาทัพพล ๒ หมื่นตีขนาบอีกทาง

๒ วันต่อมาข่าวการกรีธาทัพใหญ่มาถึงห้องโถงในพระราชวัง บรรดาขุนนางเดือดร้อนเสนาอำมาตย์ต่างประหวั่นวิตก กิริยาบ้างก็ลุกลนประหนึ่งถูกไฟเผา บ้างก็กราบทูลให้เจ้าเหนือหัวส่งสารยอมแพ้ ยินยอมตกเป็นเมืองประเทศราชของพระเจ้าสิงหนติ บ้างก็ของให้พ่ออยู่หัวแต่งทัพเล่นศึก บ้างก็นิ่งเฉยเสียไม่กล่าววาจา

พ่ออยู่หัวพังคราชนั่งนิ่งอยู่บนแท่นพระราชอาสน์ ไม่ทรงตรัสอะไรอยู่นานจึงยืนขึ้น บรรดาขุนนางในโถงต่างพากันเงียบเสียงโดยพลัน พระองค์ทรงกล่าวว่า “แต่เดิมมากษัตริย์ที่ยอมคุกเข่าทั้งที่ยังไม่เปิดศึกไม่ใช่กษัตริย์ (กษัตริย์แปลว่านักรบ) นักรบที่ยอมแพ้ตั้งแต่สงครามยังไม่เริ่มย่อมไม่ใช่นักรบ แม้พิงคราชเราจะเป็นแต่เมืองน้อย เราก็จะขอสละเลือดเนื้อยอมพลีเพื่อปกป้องประชาชนจากอริราชศัตรู”

เมื่อพระเจ้าพังคราชตรัสพระดำรัสจบลง เหล่าแม่ทัพขุนพล แลเสนาอำมาตย์บางท่านโหร้องขึ้นดังกึกก้องอย่างเฮียมหาญปนด้วยความปีติยินดี ความเคารพเลื่อมใสแลความเชื่อในกษัตริย์หนุ่มองค์นี้เพิ่มขึ้นเท่าทวี

วันนั้นเองพระเจ้าพังคราชเรียกประชุมแม่ทัพนายกองเพื่อตั้งทัพรับศึก

ทัพด้านพระเอกชัยสิงค์ เจ้าเมืองสิทธานคร มีไพร่พลเพียง ๒ หมื่น จะบุกประชิดชายแดนในอีก ๑๐ วันข้างหน้า ทัพของพระเอกชัยสิงค์เมื่อเดินทัพอย่างไรเสียก็ต้องผ่านแม่น้ำอจิรวดีคงคา พระเจ้าพังคราชจึงให้แม่ทัพวิสุทธิกัมมา นำพล ๕ พันไปแต่งกลอุบายดักซุ่มรอรับศึกปราบอริราชศัตรูทางทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้)

ทัพใหญ่ของพระเจ้าสิงหนติมีมากถึง ๗ หมื่น บุกมาทางทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) ทิศนั้นทางเป็นหุบเขาเคียวคตลาดชันอย่างยิ่ง พระเจ้าพังคราชคาดการว่าทัพใหญ่น่าจะเดินทัพช้าหากบุคมาทางหุบเขา หรือไม่อีกประการพระเจ้าสิงหนติคิดจะเดินทัพอ้อมเข้าบุกทางน้ำพายเรือทวนกระแสรุกเข้าทางทิศทักษิณ (ทิศใต้) แม้กระนั้นก็ใช้เวลาจวนเดือนกว่าจะประชิดชายแดน

พระองค์จึงสั่งให้แม่ทัพหาญนรงค์ นำไพร่พลราบ ๕๐๐ ป้องกันทางหุบเขา ทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) ทั้งยังสอดส่องตรวจตราหากมีข้าศึกมาให้แต่งกลอาศัยชัยภูมิที่เป็นต่อรับศึก

ส่วนพระองค์จะนำทัพใหญ่ต้านศึกทางทิศทักษิณ (ทิศใต้) ด้วยพระองค์เอง

เมื่อข่าวเปิดศึกสงครามเกิดขึ้น ประชาชนย่อมตื่นตระหนกโกลาหล ข้าวยากหมากแพงไปทั่วทุกหัวระแหง เดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า

พ่อค้าคนมั่งมีต่างกักตุนข้าวสาร ราคาข้าวสารจึงสูงขึ้นถึง ๕ เท่าตัว

พระเจ้าพังคราชจึงจัดสั่งให้พระวัฒนสุรังสีเจ้ากรมพระคลังควบคุมดูแลเรื่องเสบียงกรังที่จะใช้ในกองทัพตลอดไปจนถึงอาหารเครื่องบริโภคของประชาชนในพระนครหลวง ท่านรับสั่งว่า “ยามศึกสงครามเช่นนี้ประชาชนเดือดร้อนมากอยู่แล้ว กินน้ำบ่อเดียวกันต้องรักใคร่สามัคคีกัน” เพียงพระดำรัสนี้พระวัฒนสุรังสีก็พึงเข้าใจโดยนัยที่แฝงอยู่ จึงออกคำสั่งกำหนดตราเพดานจำนวนข้าวสาลีจะพึงมีในหมู่พ่อค้าแลประชาชนละเอียดจนถึงทุกครัวเรือน ทั้งยังกำหนดราคาข้าวสารและอาหารแห้งป้องกันผู้ฉวยโอกาสสร้างผลประโยชน์ในภาวะสงคราม

แลสั่งพระบดินทร เจ้ากรมทหารรักษาพระนครเพิ่มกำลังทหารรักษานครหลวงป้องกันการปล้นชิง

หลังจากข่าวสารการสงครามทราบไปทั่วแคว้นพิงคราชเพียงไม่กี่ราตรี ทั่วทั้งแคว้นเกิดโกลาหล ประชาชนบ้างก็อพยพหลีกหนีไฟสงคราม บ้างก็ย้ายถิ่นฐานเข้าไปยังนครหลวง ราตรีมาเยือนยากจะข่มตาหลักสนิท

ประชาชนทุกข์เข็ญทั่วหัวระแหง พ่ออยู่หัวก็ยากจะหลับนอนเป็นสุข

ยามค่ำคืนราตรีช่างเนินช้าและยาวนานสำหรับผู้ที่ปรารถนาจะข่มตาหลับ

พระราชวังหลวงแห่งนครพิงคราชตั้งอยู่บนหุบเขาทางทิศเหนือของนครหลวง นอกเชื้อพระญาติพระวงกริ่งเกรงแล้วมีเพียงอำมาตย์ชั้นผู้ใหญ่เพียงไม่กี่สิบท่านที่ได้พำนักอยู่ในเขตพระราชวัง

เนื้อที่พระราชฐานชั้นในมีเพียงหน่อเนื้อเชื่อกษัตริย์ขัตติยะเท่านั้นที่อยู่อาศัย

สิ่งปลูกสร้างนั้นส่วนมากทำด้วยหินผา แข็งแรงทนทานมั่นคง เรือนใหญ่น้อยมากมายระรายอยู่ตามหุบเขา บ้างก็ซุกซ่อนอยู่ตามแมกไม้ บ้างก็ใช้ถ้ำเป็นเรือนพำนักก็มี ภายในเขตราชฐานยังมีน้ำตกตามธรรมชาติอยู่สิบกว่าแห่ง ราวกับสวรรค์บนดิน

ยามฤดูหนาวพื้นดินก็จะถูกปกคลุมไปด้วยไอหมอก ประหนึ่งแดนเซียนก็ไม่ปาน

ยามฤดูฝน พรรณไม้เขียวชอุ่มนกกาขับขานไพเราะเสนาะหู อากาศปลอดกำราบไม่อับชื้น

ยามฤดูร้อน เหล่าแมกไม้ประหนึ่งฉัตรบังแดดป้องลม ชวนอภิรมย์ทั้งสามฤดู นับว่าประเสร็จแท้

...

ณ ห้องแห่งหนึ่งในเขตพระราชฐานชั้นใน

พระเจ้าพังคราชบ่ายพระพักตร์ไปยังหน้าต่างทอดสายตาไกลออกไปอยู่เนิ่นนานพลันมีเสียงเคาะประตูดังขึ้น

“ผู้ใด” พระองค์เอ่ยถาม

“เสด็จพี่ ข้าเอง” พระอนุชาเอ่ย

“เข้ามา” พระเจ้าพังคราชกล่าว “มีเรื่องอันใด”

“ข้าใคร่อยากทราบว่าเหตุผลกลใดเสด็จพี่จึงให้พระวัฒนสุรังสีควบคุมดูแลเรื่องราคาข้าวด้วย กรมคลังยามนี้งานล้นมีพออยู่แล้ว” พระอนุชากล่าวพลางเดินไปนั่งยังเก้าอี้ฝั่งตรงข้ามพระเจ้าพังคราช

“เราจะใช้คนไม่เพียงแต่ดูที่ความสามารถของเขา แต่ต้องพึงดูอุปนิสัยของเขาด้วย พระวัฒนสุรังสีนิสัยเถรตรงไม่คดโกง ทั้งยังชำนาญเรื่องการเงินในช่วงวิกฤตเช่นนี้หามีผู้ใดเหมาะสมยิ่งกว่าเขาไม่” พระเจ้าพังคราชกล่าว

“ท่านโหราจารย์ก็ชำนาญการค้าขาย ได้วิชาความรู้มาจากบิดาตน เช่นไรท่านพี่ไม่ใช้สอยบุรุษผู้นี้” พระอนุชาถาม

“ท่านวิทูรปัจจะแม้เชี่ยวชาญการค้ายิ่ง แต่มีนิสัยคดในข้องอในกระดูก ไม่ควรใช้สอย” พระเจ้าพังคราชกล่าว

“ท่านพระวิเศษชัยชาญเล่า ซื่อสัตย์สุจริต ปราบทุจริตทรราช กำราบเหล่าโจรเลื่องลือเล่าขาน” พระอนุชากล่าว

“ท่านพระยามีชื่อผู้นี้แม้เด่นด้านสุจริตเที่ยงธรรม แต่หาได้รอบคอบรัดกุมไม่ ทั้งท่านพระยาเองมีนิสัยเฉียบขาดไม่โอนอ่อนผ่อนปรน หากใช้พระยาผู้นี้ไปทำการพี่กริ่งเกรงว่าหัวพ่อค้าผู้ละโมบเหล่านั้นคงจะหลุดออกจากบ่าเสียทุกรายไป” พระเจ้าพังคราชกล่าว

“ท่านพี่คิดการรอบคอบเสียจริง สมแล้วที่เสด็จพ่อไว้วางพระทัยฟากพิงราชไว้ในมือท่าน” พระอนุชากล่าวอย่างยิ้มแย้ม

“เจ้าคงไม่ได้มาด้วยหวังไต่ถามหารือเรื่องผู้ดูแลราคาข้าวสารกระมัง” พระเจ้าพังคราชกล่าวพลางมองหน้าน้องชาย

พระอนุชาหัวเราะแห้งๆ พลางกล่าวว่า “ข้าใคร่มาไต่ถามเสด็จพี่อีกเรื่องหนึ่งจริงแท้ ข้าได้ยินข่าวมาว่าทางทิศบูรพาโพ้นทะเลโน้นมีนครเก่าแก่ใหญ่โขอยู่แห่งหนึ่ง ยินว่าเชี่ยวชาญวิชาอาคมดำดินบินบนได้ ฟันไม่เข้าแทงไม่ตาย...” พระอนุชากล่าวยังไม่ทันจบก็ถูกพระเจ้าพังคราชกล่าวขัดขึ้นว่า

“กลุ่มคนพวกนี้ข้าไม่ใคร่ปรารถนาจะคบค้าสมาคมด้วยมัน คนเหล้านี้ส่วนมากใจคออำมหิตโหดเหี้ยมโดยสันดาน เมตตาปรานีในใจแม้เสี้ยวธุลีก็หามีไม่” พระเจ้าพังคราชมองตาน้องตนเขม็งพลางกล่าวต่อ “ผู้ที่ร่ำเรียนวิชาเพื่อทำลายคนเหล่านี้เจ้าอย่างพึงยุ่งเกี่ยวเป็นดี หากปรารถนาฟันแทงไม่เข้าดังพวกมัน ก็พึงไปให้อาจารย์สรศิลป์วาดลายลงยันต์บนหลังเสีย”

พระอนุชาเห็นแววตาที่ฉายแววดุดันคำพูดที่ปนเปื้อนโทสะบางๆ ของพี่ชายตนเองพลันประหวั่นกริ่งเกรงขึ้นมา น้อยหนักหนาที่พี่ชายจะมีโทสะได้ ไม่รู้ว่าชนเผ่าชาวขอมเหล่านั้นเคยมีความแค้นประการใดกับเสด็จพี่กันแน่

ตั้งแต่ยังเป็นกุมาร แม้จะมีพี่น้องต่างมารดามากมาย แต่เขาทั้งสองรักใครสนิทสนมกลมเกลียวกันมากที่สุด แม้จะต่างอุทรแต่ก็นับว่าเป็นสายเลือดเดียวกัน ครั้งสุดท้ายที่เห็นแววตาที่มีโทสะรุนแรงของเสด็จพี่ เป็นครั้งเมื่อพระชนนีมารดาแท้ๆ ของเสด็จพี่สิ้นพระชนม์

“นี้ดึกมากแล้ว เจ้าไปพักผ่อนเถิด” พระเจ้าพังคราชกล่าว

พระอนุชาได้แต่จำยอมถอนล้นออกจากห้องไป

...

ข่าวคราวการติดต่อสื่อสารยามสงครามเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง แม้แคว้นพิงคราชเนื้อที่ไม่กว้างใหญ่นักเพราะ ๗ในสิบส่วนเป็นป่าไม้แลขุนเขา การเดินทางจึงเป็นเรื่องยากลำบากอย่างยิ่ง

จากพระนครหลวงจรดชายแดนตะวันออกเฉียงใต้ที่ตั้งทัพของพระวิสุทธิกัมมาม้าเร็วต้องใช้เวลาเดินทางถึง ๒ วันเต็มๆ ทั้งนี้หากจะสื่อสารประการใดต้องใช้เวลาไปกลับร่วม ๔ วัน

ดังนั้นเหตุการณ์ใดที่เร่งด่วนอย่างยิ่งพระวิสุทธิกัมมาจึงต้องตัดสินใจเองโดยพลัน

แม่น้ำอจิรวดีเดิมที่กว้างขวาง แต่บัดนี้หน้าแล้ง ส่วนที่มีน้ำที่จริงแล้วกว้างเพียงสองเส้นเศษ (๑ เส้น = ๒๐ วา = ๔๐ เมตร) แม้จะข้ามไปมาต้องอาศัยแพ แต่ถ้าประสงค์จะว่ายข้ามมาก็ง่ายดายยิ่ง พระวิสุทธิกัมมาจึงให้ตั้งหอธนูขึ้นริมน้ำ ห่างกัน15วา ตลอดแนวแม่น้ำ 100 เส้น แลกระจายกำลังป้องกันแต่ละหอ หามีศัตรูบุกให้จุดไฟบนหอเป็นสัญญาณ

...

ทางด้านพระหาญนรงค์ก็เดินทัพถึงหุบเขาไร้พันธนาการแล้ว

หุบเขาไร้พันธนาการนี้แต่ก่อนเป็นทางน้ำไหลที่เชี่ยวกราก จึงได้กัดเซาะเป็นช่องเขาขึ้น ช่องเขานี้ กว้างเพียง ๕ ถึง ๖ วาได้ เหมาะแก่การซุ่มโจมตีอย่างยิ่ง

พระหาญนรงค์เห็นชัยภูมิที่เป็นต่อจึงได้สั่งไพร่พลทำกับดักไว้มากมายทั้งสองฝั่งของยอดเขา ทั้งขนหินขึ้นไปบ้าง ทำตาข่ายบ้าง เตรียมน้ำยางสนที่ติดไฟง่ายไว้บ้าง เพียงพอที่รั้งทัพของพระสิงหนติไว้ได้

...

วันเวลาผันผ่านช่างรวดเร็วสำหรับผู้ที่มีงานล้นมือ การสื่อสารที่จำกัดอย่างยิ่ง แต่ก็พอให้ทางแม่ทัพหาญนรงค์ทราบข่าวคราวของทัพใหญ่พระเจ้าสิงหนติบ้าง

ทัพพระเจ้าสิงหนติให้ทัพหน้าเป็นทหารม้าจึงรุดหน้าเดินทางมาได้รวดเร็วอย่างยิ่ง บุกทะลวงปราการด่านแรกที่พระเจ้าพังคราชตั้งทัพไว้ที่ชายแดนทางใต้ ตีทัพหน้าของพระเจ้าพังคราชแตกพ่ายไปในเวลาเพียงชั่วโมง

แม่ทัพหาญนรงค์เรียกประชุมเหล่านางกองทันทีที่ทราบข่าว แล้วไต่ถามเรื่องที่ส่งอุปนิกษิตไปสืบหาสอดแนมตามป่าเขาว่าได้เรื่องราวอย่างไร

“เหล่าเสือหมอบแมวเซาที่ส่งออกไ%



Liusanmei
เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ : 1 พ.ค. 2564, 12:34:46 น.
แก้ไขครั้งล่าสุด : 10 พ.ค. 2564, 12:59:05 น.

จำนวนการเข้าชม : 234





เข้าระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็นด้วย weblove account