ขอข้อมูลจากคนที่เคยทำงานในสำนักพิมพ์ เพื่อใช้ประกอบการเขียนนิยายค่ะ by ฌลารักษ์
คือว่า นางเอกของนิยายเรา เธอเป็น CFO ค่ะ แต่เพราะเหตุผลบางอย่าง เธอจึงลาออกจากบริษัทของครอบครัวและไปทำงานเป็น ผู้ช่วยบรรณาธิการในสำนักพิมพ์ขนาดเล็กแห่งหนึ่ง
ตัวเราเองเรียนบัญชี พอจะเข้าใจว่าการทำงานขององค์กรทั่วๆไปเป็นอย่างไร ซึ่งในแต่ธุรกิจเองก็อาจจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป
แต่เราไม่เคยไปทำงานในสำนักพิมพ์จริงๆ จึงไม่รู้รายละเอียดลึกๆค่ะ อาศัยว่าอ่านการ์ตูนเรื่อง Bakuman เป็นแนวทางในการอ้างอิง เพื่อสร้างสำนักพิมพ์ในจินตนาการขึ้นมาเองค่ะ
เราคิดว่าในสำนักพิมพ์ก็น่าจะมี บรรณาธิการใหญ่ รองบรรณาธิการของหนังสือแต่ละประเภท และผู้ช่วยบรรณาธิการ ทำหน้าที่คุยกับนักเขียน และเป็นคนพิสูจน์อักษร แต่คนที่จะตัดสินใจว่าจะพิมพ์หรือไม่ก็ต้องเป็นบรรณาธิการ อะไรประมาณนี้รึเปล่าค่ะ
คำถามมีดังนี้ค่ะ
1.ในสำนักพิมพ์มีฝ่ายอะไรอีก เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขนส่ง ฯลฯ
2.สำนักพิมพ์ขนาดเล็ก กับขนาดกลาง นี่แตกต่างกันยังไงค่ะ แตกต่างในเรื่องของรายได้ หรือ จำนวนพนักงานในสำนักพิมพ์
3.สำนักพิมพ์ขนาดเล็กมีพนักงานประมาณกี่คนค่ะ และเฉพาะฝ่ายกองบรรณาธิการมีพนักงานกี่คน
4.สำนักพิมพ์ขนาดกลางมีพนักงานประมาณกี่คนค่ะ และเฉพาะฝ่ายกองบรรณาธิการมีพนักงานกี่คน
ส่วนเรื่องอื่นๆจะลองจินตนาการดูเองค่ะ และถ้าใครทำงานในสำนักพิมพ์ฝ่ายกองบรรณาธิการช่วยแชร์ประสบการณ์ให้ฟังก็จะขอบคุณมากค่ะ
ฌลารักษ์
ตัวเราเองเรียนบัญชี พอจะเข้าใจว่าการทำงานขององค์กรทั่วๆไปเป็นอย่างไร ซึ่งในแต่ธุรกิจเองก็อาจจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป
แต่เราไม่เคยไปทำงานในสำนักพิมพ์จริงๆ จึงไม่รู้รายละเอียดลึกๆค่ะ อาศัยว่าอ่านการ์ตูนเรื่อง Bakuman เป็นแนวทางในการอ้างอิง เพื่อสร้างสำนักพิมพ์ในจินตนาการขึ้นมาเองค่ะ
เราคิดว่าในสำนักพิมพ์ก็น่าจะมี บรรณาธิการใหญ่ รองบรรณาธิการของหนังสือแต่ละประเภท และผู้ช่วยบรรณาธิการ ทำหน้าที่คุยกับนักเขียน และเป็นคนพิสูจน์อักษร แต่คนที่จะตัดสินใจว่าจะพิมพ์หรือไม่ก็ต้องเป็นบรรณาธิการ อะไรประมาณนี้รึเปล่าค่ะ
คำถามมีดังนี้ค่ะ
1.ในสำนักพิมพ์มีฝ่ายอะไรอีก เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขนส่ง ฯลฯ
2.สำนักพิมพ์ขนาดเล็ก กับขนาดกลาง นี่แตกต่างกันยังไงค่ะ แตกต่างในเรื่องของรายได้ หรือ จำนวนพนักงานในสำนักพิมพ์
3.สำนักพิมพ์ขนาดเล็กมีพนักงานประมาณกี่คนค่ะ และเฉพาะฝ่ายกองบรรณาธิการมีพนักงานกี่คน
4.สำนักพิมพ์ขนาดกลางมีพนักงานประมาณกี่คนค่ะ และเฉพาะฝ่ายกองบรรณาธิการมีพนักงานกี่คน
ส่วนเรื่องอื่นๆจะลองจินตนาการดูเองค่ะ และถ้าใครทำงานในสำนักพิมพ์ฝ่ายกองบรรณาธิการช่วยแชร์ประสบการณ์ให้ฟังก็จะขอบคุณมากค่ะ
ฌลารักษ์

วิรัตต์ยา 26 ม.ค. 2556, 14:56:43 น.
ก่อนอื่นถามก่อนนะคะ ว่า นางเอกไปเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการได้ยังไง เธอไปแบบคนที่เก่งหรือไปแบบเด็กเส้นคะ
ตำแหน่งบรรณาธิการหรือแม้แต่ผู้ช่วยเองก็ตาม ถ้าหากไม่ใช่เจ้าของเงินหรือเส้นสายจริงๆ คนที่ไม่มีประสบการณ์ จะเข้าไปได้ยากนะคะ เพราะผู้ที่จะเป็นบบรรณาธิการหรือผู้ช่วยฯ จะต้องเป็นผู้ที่มีสายตาแหลมคม กว้างไกล มีส่วนผสมของคนศิลปะและพาณิชย์อยู่ในตัว ดูว่าหนังสือเล่มไหนพอขายได้ เล่มไหนจะขายดี เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะ ประสบการณ์ บวกกับ skill น่ะค่ะ ฉะนั้น บรรณาธิการหรือผู้ช่วยฯ ในสำนักพิมพ์ ส่วนมากจะเริ่มต้นมาจากตำแหน่ง กองบรรณาธิการ หรือ พิสูจน์อักษร ซึ่งก็ต้องใช้เวลาหลายปีทีเดียวกว่าจะก้าวถึงจุดนั้น
โครงสร้างของสำนักพิมพ์แต่ละที่จะคล้ายๆ กัน อยู่ที่การแบ่งงานของแต่ละที่ว่าตำแหน่งไหนจะมีหน้าที่ไหนบ้าง บางสำนักพิมพ์ บรรณาธิการมีหน้าที่คัดเลือกต้นฉบับอย่างเดียว ไม่ต้องปรู๊ฟ ไม่ต้องดีลกับนักเขียน แต่บางสำนักพิมพ์ บ.ก.ต้องปรู๊ฟเองด้วย ต้องดีลกับนักเขียน เขียนคำโปรยปก คำนำ บลาๆ
ตอบคำถามข้อ 1
ในสำนักพิมพ์ นอกจากบรรณาธิการ/ผู้ช่วยบรรณาธิการแล้ว จะต้องมี กองบรรณาธิการ หัวหน้ากองบรรณาธิการ ฝ่ายอาร์ต (มีอาร์ตจัดหน้า กับอาร์ตออกแบบปก ทำรูปประกอบ (ถ้ามี) ออกแบบโบร์ชัวร์และอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการทำหนังสือ) ฝ่ายการตลาด ประชาสัมพันธ์ ฝ่ายบัญชี แมสเซนเจอร์ ธุรการ แม่บ้าน (แต่บางที่ก็ไม่มีแม่บ้าน ต้องทำกันเอง)
-แต่ถ้าเป็นสำนักพิมพ์ที่ทำนิตยสารก็จะต้องมีตำแหน่งอื่นเพิ่มมาอีก เช่น ช่างภาพ เป็นต้น
2. สำนักพิมพ์ขนาดเล็กกับขนาดกลาง ต่างกันที่ความหลากหลายของงาน รวมถึงปริมาณการออกหนังสือ ซึ่งแน่นอนว่า ส่งผลต่อรายได้และจำนวนพนักงานในสำนักพิมพ์ด้วย เช่น สำนักพิมพ์ขนาดกลางเนี่ย นอกจากนิยายแล้ว ยังทำหนังสือวรรณกรรมเยาวชน/นิทาน/ท่องเที่ยว/สารคดี อีกด้วย แต่ความหลากหลายก็ยังสู้ขนาดใหญ่ไม่ได้
ข้อ 3 อันนี้แล้วแต่ละที่เลย แต่โดยทั่วไป ขนาดเล็กก็ จะมี บ.ก. 1 กองบ.ก. สาม (บางที่มีการจ้างบ.ก.นอกอีดิตงานอีกต่างหาก) ฝ่ายอาร์ต 2 การตลาด 1 (บางที่ บ.ก.หรือเจ้าของก็เป็นการตลาดเองด้วย ก็มี) และการตลาดก็อาจควบตำแหน่งประชาสัมพันธ์ด้วยก็มี
ข้อ 4 อันนี้ก็แล้วแต่เหมือนกันค่ะ ถ้าคิดภาพไม่ออก ก็คือให้คิดว่า ในสนพ.ขนาดกลางเนี่ย ทำหนังสือกี่หัว แล้วก็เอาปริมาณคนจาก สนพ.ขนาดเล็กเสียบเข้าไป แต่ละหัวก็เปรียบเหมือนสนพ.ขนาดเล็กน่ะค่ะ เว้นแต่พวกพิสูจน์อักษรกับอาร์ต ที่บางทีก็ใช้ร่วมกันกับทุกหัวเลย
เห็นคำว่าส่วนเรื่องอื่นๆ จะลองจินตนาการดูแล้วตกใจค่ะ เขียนตามความเป็นจริงให้มากที่สุดจะดีกว่านะคะ เดี๋ยวคนที่ทำสำนักพิมพ์จะโวยวายเอา
คิดว่าคงจะพอให้เห็นภาพมากขึ้นนะคะ และย้ำอีกทีว่า ควรจะเขียนให้ใกล้ความจริงมากที่สุดจะดีกว่า ใช้จินตนาการเฉพาะกับเนื้อหาของนิยายก็พอค่ะ เนาะ ^__^
ด้วยมิตรไมตรีค่ะ
ก่อนอื่นถามก่อนนะคะ ว่า นางเอกไปเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการได้ยังไง เธอไปแบบคนที่เก่งหรือไปแบบเด็กเส้นคะ
ตำแหน่งบรรณาธิการหรือแม้แต่ผู้ช่วยเองก็ตาม ถ้าหากไม่ใช่เจ้าของเงินหรือเส้นสายจริงๆ คนที่ไม่มีประสบการณ์ จะเข้าไปได้ยากนะคะ เพราะผู้ที่จะเป็นบบรรณาธิการหรือผู้ช่วยฯ จะต้องเป็นผู้ที่มีสายตาแหลมคม กว้างไกล มีส่วนผสมของคนศิลปะและพาณิชย์อยู่ในตัว ดูว่าหนังสือเล่มไหนพอขายได้ เล่มไหนจะขายดี เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะ ประสบการณ์ บวกกับ skill น่ะค่ะ ฉะนั้น บรรณาธิการหรือผู้ช่วยฯ ในสำนักพิมพ์ ส่วนมากจะเริ่มต้นมาจากตำแหน่ง กองบรรณาธิการ หรือ พิสูจน์อักษร ซึ่งก็ต้องใช้เวลาหลายปีทีเดียวกว่าจะก้าวถึงจุดนั้น
โครงสร้างของสำนักพิมพ์แต่ละที่จะคล้ายๆ กัน อยู่ที่การแบ่งงานของแต่ละที่ว่าตำแหน่งไหนจะมีหน้าที่ไหนบ้าง บางสำนักพิมพ์ บรรณาธิการมีหน้าที่คัดเลือกต้นฉบับอย่างเดียว ไม่ต้องปรู๊ฟ ไม่ต้องดีลกับนักเขียน แต่บางสำนักพิมพ์ บ.ก.ต้องปรู๊ฟเองด้วย ต้องดีลกับนักเขียน เขียนคำโปรยปก คำนำ บลาๆ
ตอบคำถามข้อ 1
ในสำนักพิมพ์ นอกจากบรรณาธิการ/ผู้ช่วยบรรณาธิการแล้ว จะต้องมี กองบรรณาธิการ หัวหน้ากองบรรณาธิการ ฝ่ายอาร์ต (มีอาร์ตจัดหน้า กับอาร์ตออกแบบปก ทำรูปประกอบ (ถ้ามี) ออกแบบโบร์ชัวร์และอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการทำหนังสือ) ฝ่ายการตลาด ประชาสัมพันธ์ ฝ่ายบัญชี แมสเซนเจอร์ ธุรการ แม่บ้าน (แต่บางที่ก็ไม่มีแม่บ้าน ต้องทำกันเอง)
-แต่ถ้าเป็นสำนักพิมพ์ที่ทำนิตยสารก็จะต้องมีตำแหน่งอื่นเพิ่มมาอีก เช่น ช่างภาพ เป็นต้น
2. สำนักพิมพ์ขนาดเล็กกับขนาดกลาง ต่างกันที่ความหลากหลายของงาน รวมถึงปริมาณการออกหนังสือ ซึ่งแน่นอนว่า ส่งผลต่อรายได้และจำนวนพนักงานในสำนักพิมพ์ด้วย เช่น สำนักพิมพ์ขนาดกลางเนี่ย นอกจากนิยายแล้ว ยังทำหนังสือวรรณกรรมเยาวชน/นิทาน/ท่องเที่ยว/สารคดี อีกด้วย แต่ความหลากหลายก็ยังสู้ขนาดใหญ่ไม่ได้
ข้อ 3 อันนี้แล้วแต่ละที่เลย แต่โดยทั่วไป ขนาดเล็กก็ จะมี บ.ก. 1 กองบ.ก. สาม (บางที่มีการจ้างบ.ก.นอกอีดิตงานอีกต่างหาก) ฝ่ายอาร์ต 2 การตลาด 1 (บางที่ บ.ก.หรือเจ้าของก็เป็นการตลาดเองด้วย ก็มี) และการตลาดก็อาจควบตำแหน่งประชาสัมพันธ์ด้วยก็มี
ข้อ 4 อันนี้ก็แล้วแต่เหมือนกันค่ะ ถ้าคิดภาพไม่ออก ก็คือให้คิดว่า ในสนพ.ขนาดกลางเนี่ย ทำหนังสือกี่หัว แล้วก็เอาปริมาณคนจาก สนพ.ขนาดเล็กเสียบเข้าไป แต่ละหัวก็เปรียบเหมือนสนพ.ขนาดเล็กน่ะค่ะ เว้นแต่พวกพิสูจน์อักษรกับอาร์ต ที่บางทีก็ใช้ร่วมกันกับทุกหัวเลย
เห็นคำว่าส่วนเรื่องอื่นๆ จะลองจินตนาการดูแล้วตกใจค่ะ เขียนตามความเป็นจริงให้มากที่สุดจะดีกว่านะคะ เดี๋ยวคนที่ทำสำนักพิมพ์จะโวยวายเอา
คิดว่าคงจะพอให้เห็นภาพมากขึ้นนะคะ และย้ำอีกทีว่า ควรจะเขียนให้ใกล้ความจริงมากที่สุดจะดีกว่า ใช้จินตนาการเฉพาะกับเนื้อหาของนิยายก็พอค่ะ เนาะ ^__^
ด้วยมิตรไมตรีค่ะ

ฌลารักษ์ 27 ม.ค. 2556, 19:34:23 น.
ขอบคุณมากจริงๆค่ะสำหรับข้อมูล
ตอนพิมพ์รีบไปหน่อยค่ะ เลยไม่ระบุให้ชัดเจนว่า สำนักพิมพ์ที่เราจะเขียนคือสำนักพิมพ์นิยายค่ะ ^^
เราเองตอนแรกสับสนระหว่าง ผู้ช่วยบรรณาธิการ กับกองบรรณาธิการค่ะ แต่ตอนนี้เราได้เปลี่ยนให้นางเอกเป็นแค่ กองบรรณาธิการ แล้วค่ะ
หน้าที่ของกองบรรณาธิการ คือ ติดต่อกับนักเขียน และตรวจสอบคำผิดอะไรประมาณนี้ใช่ไหมค่ะ
พื้นเรื่องของเรานางเอกเป็นคนที่ทำงานเก่งมากค่ะ และเธอก็มีประสบการณ์เขียนนิยายมาพอสมควรด้วย
นางเอกอยากมาเรียนรู้งานในสนพค่ะ เพราะอยากนำประสบการณ์ไปเปิดสนพของตัวเองในอนาคต ประมาณนี้ค่ะ
เรื่องในสำนักพิมพ์เราไม่ลงรายละเอียดลึกค่ะ เพราะเป็นแค่ส่วนประกอบที่ช่วยอธิบายให้คนอ่านเห็นภาพนางเอกชัดเจนขึ้น ว่านางเอกเป็นคนเก่ง และความฝันของนางเอกคืออะไร ความรู้สึกนึกคิดของนางเอกเป็นยังไงค่ะ
ฉากที่อยากจะเขียนมีดังนี้ค่ะ
1.นางเอกคุยกับน้องนักเขียน และให้แก้งานที่ไม่สมเหตุสมผล ให้เขียนคำโปรย ให้แก้ชื่อเรื่อง อะไรประมาณนี้ค่ะ
2.นางเอกคุยกับพี่ในกองบก.เรื่องจิปาถะเล็กๆน้อยๆ ตลกๆเกี่ยวกับนิยายค่ะ
3.นางเอกขายหนังสือในงานสัปดาห์หนังสือ และเกิดเหตุให้พนักงานที่จ้างมาช่วยขายหนังสือในงานสัปดาห์หนังสือ ท้องเสีย (เหตุเกิดจากเลขากองบก.อิจฉาที่นางเอกใกล้ชิดกับ รองพระเอกค่ะ) แต่นางเอกก็แก้สถานการณ์ได้ อย่างสวยงามค่ะ
จะพยายามเขียนออกมาให้ตรงกับความเป็นจริงและความเป็นไปได้ให้มากที่สุดค่ะ
^^
ขอบคุณมากจริงๆค่ะสำหรับข้อมูล
ตอนพิมพ์รีบไปหน่อยค่ะ เลยไม่ระบุให้ชัดเจนว่า สำนักพิมพ์ที่เราจะเขียนคือสำนักพิมพ์นิยายค่ะ ^^
เราเองตอนแรกสับสนระหว่าง ผู้ช่วยบรรณาธิการ กับกองบรรณาธิการค่ะ แต่ตอนนี้เราได้เปลี่ยนให้นางเอกเป็นแค่ กองบรรณาธิการ แล้วค่ะ
หน้าที่ของกองบรรณาธิการ คือ ติดต่อกับนักเขียน และตรวจสอบคำผิดอะไรประมาณนี้ใช่ไหมค่ะ
พื้นเรื่องของเรานางเอกเป็นคนที่ทำงานเก่งมากค่ะ และเธอก็มีประสบการณ์เขียนนิยายมาพอสมควรด้วย
นางเอกอยากมาเรียนรู้งานในสนพค่ะ เพราะอยากนำประสบการณ์ไปเปิดสนพของตัวเองในอนาคต ประมาณนี้ค่ะ
เรื่องในสำนักพิมพ์เราไม่ลงรายละเอียดลึกค่ะ เพราะเป็นแค่ส่วนประกอบที่ช่วยอธิบายให้คนอ่านเห็นภาพนางเอกชัดเจนขึ้น ว่านางเอกเป็นคนเก่ง และความฝันของนางเอกคืออะไร ความรู้สึกนึกคิดของนางเอกเป็นยังไงค่ะ
ฉากที่อยากจะเขียนมีดังนี้ค่ะ
1.นางเอกคุยกับน้องนักเขียน และให้แก้งานที่ไม่สมเหตุสมผล ให้เขียนคำโปรย ให้แก้ชื่อเรื่อง อะไรประมาณนี้ค่ะ
2.นางเอกคุยกับพี่ในกองบก.เรื่องจิปาถะเล็กๆน้อยๆ ตลกๆเกี่ยวกับนิยายค่ะ
3.นางเอกขายหนังสือในงานสัปดาห์หนังสือ และเกิดเหตุให้พนักงานที่จ้างมาช่วยขายหนังสือในงานสัปดาห์หนังสือ ท้องเสีย (เหตุเกิดจากเลขากองบก.อิจฉาที่นางเอกใกล้ชิดกับ รองพระเอกค่ะ) แต่นางเอกก็แก้สถานการณ์ได้ อย่างสวยงามค่ะ
จะพยายามเขียนออกมาให้ตรงกับความเป็นจริงและความเป็นไปได้ให้มากที่สุดค่ะ
^^

วิรัตต์ยา 28 ม.ค. 2556, 08:56:39 น.
ถ้าเป็นสนพ.ขนาดเล็ก กองบ.ก.อาจจะเป็นคนติดต่อนักเขียนก็ได้ค่ะ ไม่มีปัญหา แต่ต้องอธิบายให้ชัดเจนนิดหนึ่งว่า ทำไมคนเป็นบ.ก.ถึงไม่ยอมติดต่อนักเขียนเอง ทั้งที่เป็นหน้าที่ของตน
จุดประสงค์ของคุณฌลารักษ์คือ อยากให้นางเอกคุยงานกับนักเขียนใช่มั้ยคะ ถ้างั้นเราขอแนะนำอย่างนี้ค่ะ ว่า ให้นางเอกเป็นกองบ.ก.เนี่ย ถูกแล้ว แต่ทีนี้ ในกองบ.ก. เนี่ย แต่ละคนจะต้องเป็นบ.ก.เล่มนิยายแต่ละเรื่องด้วย เช่น มีอยู่สามคน คนนี้เอาเรื่อง A ไป คนนี้เรื่อง B เรื่อง C ก็ว่ากันไปค่ะ ซึ่งบ.ก.เล่มก็จะดูแลตั้งแต่ต้นจนจบของนิยายเรื่องนั้นๆ -อีดิต ปรู๊ฟทุกขั้นตอน - ซึ่งหมายรวมถึงการคิดคอนเซ็ปท์ปกด้วย (จะได้เห็นว่านางเอกยิ่งเก่ง อิอิ)
เรื่องปรู๊ฟเนี่ย จะให้มีฝ่ายปรู๊ฟโดยเฉพาะก็ได้ค่ะ เพื่อแบ่งเบางานของเหล่าบ.ก.เล่ม
ยินดีให้คำปรึกษาเรื่อยๆ นะคะ มีอะไรก็ถามมาได้ ถ้าพอจะช่วยได้ก็ยินดีค่ะ ^__^
ถ้าเป็นสนพ.ขนาดเล็ก กองบ.ก.อาจจะเป็นคนติดต่อนักเขียนก็ได้ค่ะ ไม่มีปัญหา แต่ต้องอธิบายให้ชัดเจนนิดหนึ่งว่า ทำไมคนเป็นบ.ก.ถึงไม่ยอมติดต่อนักเขียนเอง ทั้งที่เป็นหน้าที่ของตน
จุดประสงค์ของคุณฌลารักษ์คือ อยากให้นางเอกคุยงานกับนักเขียนใช่มั้ยคะ ถ้างั้นเราขอแนะนำอย่างนี้ค่ะ ว่า ให้นางเอกเป็นกองบ.ก.เนี่ย ถูกแล้ว แต่ทีนี้ ในกองบ.ก. เนี่ย แต่ละคนจะต้องเป็นบ.ก.เล่มนิยายแต่ละเรื่องด้วย เช่น มีอยู่สามคน คนนี้เอาเรื่อง A ไป คนนี้เรื่อง B เรื่อง C ก็ว่ากันไปค่ะ ซึ่งบ.ก.เล่มก็จะดูแลตั้งแต่ต้นจนจบของนิยายเรื่องนั้นๆ -อีดิต ปรู๊ฟทุกขั้นตอน - ซึ่งหมายรวมถึงการคิดคอนเซ็ปท์ปกด้วย (จะได้เห็นว่านางเอกยิ่งเก่ง อิอิ)
เรื่องปรู๊ฟเนี่ย จะให้มีฝ่ายปรู๊ฟโดยเฉพาะก็ได้ค่ะ เพื่อแบ่งเบางานของเหล่าบ.ก.เล่ม
ยินดีให้คำปรึกษาเรื่อยๆ นะคะ มีอะไรก็ถามมาได้ ถ้าพอจะช่วยได้ก็ยินดีค่ะ ^__^

ตถตา 30 ม.ค. 2556, 08:25:27 น.
ดูสิการเขียนิยายไม่ใช่ง่ายๆนะ แล้วยังจะมีแอพนั่นโน้นนี่ มาก็อปไปง่ายๆมันก็เกินไปผมว่าคนอ่านต้อง มีจรรยาบรรณของคนอ่านด้วย คืออ่านได้แต่อย่าก็อป
ดูสิการเขียนิยายไม่ใช่ง่ายๆนะ แล้วยังจะมีแอพนั่นโน้นนี่ มาก็อปไปง่ายๆมันก็เกินไปผมว่าคนอ่านต้อง มีจรรยาบรรณของคนอ่านด้วย คืออ่านได้แต่อย่าก็อป