รากเหง้า
หมู่บ้านเล็กๆ บรรยากาศชายทุ่ง กลิ่นไอความเป็นบ้านนาคละคลุ้ง
บ้านหลังเล็ก ที่อยู่กัน 7 คน พ่อแม่ลูก เป็นครอบครัวที่อบอุ่น
การเป็นอยู่ก็พื้นๆ ไม่ได้พิเศษอะไรเพราะค่อนข้างจน แต่ก็อยู่กันอย่างมีความสุขตลอดมา การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของครอบครัวน้อยๆ ครอบครัวนี้ เกิดขึ้นเมื่อพ่อผุ้เป็นเสาหลักของครอบครัวป่วย
ลูกๆ จึงต้องช่วยกันทำงาน และต้องลดพาระครอบครัวด้วยการแต่งงานเพื่อลดการแออัดภายในบ้าน และนั่นคือที่มาและเรื่องราวความสุข ความทุกข์ ความสำหวัง ความผิดหวัง ในชีวิต ติดตามได้ใน นิยายเรื่องยาว รากเหง้า ในนามปากกา อ. อกาลิโก
Tags: http://my.dek-d.com/dekdee/writer/view.php?id=908025

ตอน: รุ่งฟ้า

ภาพความทรงจำแห่งวันวาน แห่งความเศร้า ความสุข ที่ยังคงฝังอยู่

ในความทรงจำมิเคยจางหายและไม่สามารถหาย้อนกลับมาให้แก้ใขสิ่ง

ใดที่เคยทำผิดพลาดได้อีก ยังคงติดตรึงอยู่ภายในหัวใจ ของหญิงมีอา

ยุคนนัั้น น้ำในตาเอ่อไหลออกมานอกดวงตาคู่ที่เริ่มจะฟ่าฟางเพราะวัย

ที่ร่วงโรยนั้น คุณยายจึงใช้ผ้าเช็ดหน้าสีชมพูปักลายดอกกุหลาบสีแดง

ดอกใหญ่ซับน้ำตา คุณยาย บัว กล่าวถึงด้วยเสียงสั่นเครือว่า

"เรามันคนจน อยู่บ้านไม้ไผ่ พี่น้องก็หลายคน พ่อแม่ทำงานไม่ได้พัก

ยากเข็นรำเค็ญ เข็ญใจเหลือเกินจริงๆ เด็กๆ เอ้ย พวกเราเนี้ยะ เกิดมาส

บาย ไม่ทุกไม่ร้อน พ่อแม่ทำไว้ให้หมดแล้ว ใช้จ่ายก็ให้พอประมาณน่ะ หลานๆ"

คุณยายบัวนั่งอยู่บนโซฟา แต่งตัวด้วยชุดสีดำล้วน โดยมีบรรดาลูกหลานนั่งรายล้อมรอบตัว


(พ.ศ.2500)
"บ้านเราสมัยก่อนน่ะ ลำบากจริงๆ บ้านไม้เก่าๆ ทำมาจากไม้ไผ่ ผ่าซีก นำมาตีเป็นฝาบ้าน พ่อแม่มีลูก 5 คน พ่ออยากได้ลูกชายไว้สืบสกุล แต่ก็ไม่มีสักที เกิดมา 4 คน ก็เป็นผู้หญิงทั้งหมด

เมื่อรู้ว่าภรรยาตั้งท้องลูกคนสุดท้องพ่อจึงไปบนบานต่อหน้าพระประธานในโบส

"ขอให้เป็นลูกชายด้วยเถิดครับ"

เวลาผ่านไปจนกระทั้งผู้เป็นภรรยาคลอดพ่อแก้วก็ได้ลูกชายสมใจอยากเขาสมหวังสักที

พี่ๆ ทุกคนรักน้องคนนี้มาก มักจะนำน้องของตนนั้นมาเล่นขายของ

บ้าง จับน้องชายแต่งหน้าบ้าง เป็นเพราะว่าน้องก็ไม่รู้เรื่อง ยังไม่ประสี

ประสา พี่คนโตแต่งตัวให้น้องใหญ่เลย และออกคำสังให้น้องๆ ช่วยกัน

แต่งตัวให้น้องเล็ก ตามประสาเด็กบ้านนอกคอกนา ที่ยังไม่ค่่อยจะรู้ประสา

"ปากต้องเป็นสีแดงน่ะ คิ้วต้องโก่งมากกว่านี้สิ"

"แต่มันก็แดงแปร็ดมากแล้วน่ะ"

"ตัวอย่ามาเถียงพี่สิ พี่เป็นพี่ใหญ่น่ะ พี่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร พี่บอกว่ายังไม่แดง ก็คือยังไม่แดงสิ"

คนเป็นพี่ใหญ่ออกคำสั่งกับน้องๆ ของตน

"ตัวไม่เคยเห็นดาราในทีวีตัวจะรู้ได้ง่ะว่าเป็นยังไง แต่เขาน่ะเห็นมาแล้วเชื่อเขาสิว่ามันยังไม่แดง"

ใบหน้าของน้องคนเล็กนั้น ตอนนี้เล่อะเท่อะไปหมดเพราะฝีมือการตกแต่งใบหน้าของพี่ๆ ของเขา

ผู้เป็นพ่อกลับมาจากนา เห็นเข้า ก็ดุด่าลูกสาวทั้ง 4 คน พร้อมตำหนิ ลูกๆของตนเอง

"ต่อไปห้ามทำอย่างนี้ เพราะน้องไม่ใช่ผู้หญิงน่ะลูก"

แล้วก็ไล่ผู้เป็นลูกสาวทั้งสี่คนของตน

"ไปอาบน้ำกันได้แล้ว จะเย็นอยู่แล้วน่ะจะได้มากินข้าว ดูสิ ป่านนี้ยังไม่ได้อาบน้ำกันอีก"

พ่อแก้วตำหนิลูกๆ ของให้ไปอาบน้ำเพราะว่าใกล้ เวลาอาหารเต็มที

พร้อมทั้งแกะ ไอ้เครื่องแต่งตัว ประหลาดๆ ที่พี่ๆ ของ ด.ช. บารมี นำมา

ให้ผู้เป็นน้องชายได้สวมใส่ พร้อมทั้งเอาชายเสื้อเช็ดคราบสีต่างๆ ที่

อยู่บนใบหน้าน้อยๆ ของลูกชายออกจนหมด เขายิ้มให้ลูกชาย หัวแก้ว

หัวแหวน ด้วยความรัก

แม่บ้าน กำลังง่วนอยู่กับการทำอาหาร บ้านๆ บ้านนอกๆ ไม่หรูหรา

อะไร ควันไฟ โขมงเต็มครัวไปหมด เสียงตำน้ำพริก ดังโครกๆๆ เป็น

จังหวะ ที่คุ้นเคย เพราะทุกๆ บ้าน ก็ทำอย่างงี้ทั้งนั้น ลูกสาวอาบน้ำ

เสร็จ แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่ซักแล้ว แต่ดูไป ดูมาก็เหมือนกับว่า จะไม่ได้

ซัก เพราะมันทั้งเก่าสีก็ดูหมองๆ เหลือเกิน เพราะใช้ต่อกันมาเป็น

ทอดๆ พี่ตัวโตมากขึ้นใส่ไม่ได้ ก็ให้น้องใส่ต่อ ทั้งๆ ที่เสื้อผ้าส่วน

ใหญ่แล้ว พ่อกับแม่ ก็ไม่ค่อยได้ซื้อใหม่ให้หรอก เขาให้มาบ้าง บ้าน

คนรวยเขาให้มาบ้าง เจ๊กในตลาดให้มาบ้าง ของบริจาคที่คนกรุงเขา

เอามาบริจาคบ้าง ครั้งสุดท้าย ที่เด็กๆ รบเร้า อยากได้เสื้อใหม่ คือเมื่อ

ปีใหม่เมือง 13 เมษายน เพราะมีรถเร่ ฉายหนัง เอาเสื้อแบบใหม่ๆ มา

จาก กรุงเทพ เอามาขายให้คนบ้านนอกราคาแพงลิบลิ้ว ตัวหนึ่งตั้ง 19

บาท แพงจัง เด็กๆ พากันร้องไห้ เพราะว่าได้ตกลงกันแล้วตั้งแต่วัน

ก่อน ตอนที่รถมากางเต้นโฆษณา ว่าได้นำเสื้อผ้าเด็กมาขาย สวยสุดๆ

เสียงน้องคนหนึ่งดังขึ้นว่า


"เอ้ยๆๆ น้องว่า ต้องขอให้แม่ช่วยเราน่ะ ไม่งั้น ไม่ได้เดิ้นแน่ๆ"

น้องคนเหนือนมบอก (หนูบัว) "น่ะเขาก็ว่าอย่างงั้นเหมือนกันแหล่ะ"

สิ้นเสียงเด็กๆ พากันร้องไห้ ผู้เป็นพ่อก็ด่า จนเกือบจะเป็นการตวาดแต่ลูกๆก็ไม่ยอมหยุด

"ทำไมพ่อห้ามถึงไม่ฟังพ่อพูดแล้วทำไมไม่ฟัง แล้วหยุดเลยน่ะหยุดร้องไห้เดี๋ยวนี้"

พ่อของพวกเด็กๆออกคำสั่งอย่างแข็งขัน เพื่อเป็นการปรามผู้เป็นลูก

ให้อยู่ในโอวาท ยิ่งทำให้ลูกๆ นั้นเกรงผู้เป็นพ่อของตนเองมากขึ้น แต่

พ่อแก้วนั้นก็ไม่เคยลงโทษหรือตีลูกๆ ของเขาเลยแม้แต่ครั้งเดียว แต่ถึง

อย่างนั้นลูกๆ ก็ยังเกรงและกลัวพ่อของพวกเขาอยู่ดี โดยก็ไม่ทราบว่า

เป็นเพราะเหตุใด ทำไมถึงได้กลัวเกรงพ่อของตนมากมายนักทั้งๆ ที่ทุก

ครั้งที่พวกเขาทำผิดผู้เป็นพ่อไม่เคยตีทำโทษพวกเธอเลยสักครั้ง

เวลาแห่งความวุ่นวายที่เกิดจากบรรดาลูกสาวจอมแก่นทั้งสี่คนได้

ผ่านไปแล้ว หนังกลางแปลงที่มาฉายหนังพร้อมทั้งนำสินค้ามาขายด้วย

นั้นได้กลับไปแล้วเพื่อที่จะไปตั้งเพื่อฉายหนังในตำบลอื่นๆ ต่อไป


รอยยิ้มอันเบิกบานของสาวน้อย ที่เป็นพี่ใหญ่ รอยยิ้มโสภาของเธอ

ช่างมีความสุขจริงๆ สายตาจ้องมองกระจกไม่ลดละ เพราะภูมิใจ ที่ได้

เสื้อใหม่ มาใส่ เพราะเป็นเสื้อของเด็กๆ ตัวเดียวและตัวแรกของเด็ก ใน

หมู่บ้าน ที่ได้ใส่ เพราะว่าซื้อมาในราคา ตั้ง 19 บาท เพราะว่าเป็นเสื้อ

ที่มาจากกรุงเทพ


รอบตัว ของผู้เป็นพี่สาวรายล้อมด้วยน้องๆ ที่ต่างก็อยากใส่เสื้อใหม่

กระโปรงใหม่นี้เหลือเกิน แต่ก็ติดที่ว่า ได้ตกลงกันแล้ว ว่า

"คนแรกที่จะใส่คือพี่ คนต่อไปก็คือผัด จงจิต และก็เป็นตัวน่ะบัวผู้เป็นพี่สาวคนโตได้ออกคำสั่งกับน้องๆ "

ทั้ง 4 พี่น้อง 4 ใบเถานี้ จะผลัดเปลี่ยนเวียนกัน ครอบครองเสื้อและกระโปรงนี้ คนละ 2 วัน

"วันพรุ่งนี้ก่อนเถ่อะ เขาจะใส่ไปอวด ที่นา ให้สวยเริ้ดไปเลย" สาว

น้อยพี่สาวคนรองพูดแก่แดด แต่ก็น่ารักไปอีกแบบ


พอถึงวันที่บัว จะได้ใส่ชุดใหม่ที่สวยชุดนั้น พี่จงจิต ก็บอกกับผู้ที่มี

ศักดิ์เป็นน้องของตนว่า

"อยากจะใส่อีกวัน ได้ไหม บัวพี่ขออีกสักวันหนึ่งน่ะ พี่ยังอยากใส่อยู่เลย"

เธอพูดเชิงไม่ขอร้องใดๆ และไม่ยอมถอดออกจากตัวด้วยซ้ำ แต่

ด้วยตัวของจงจิด พี่สาวคนที่สาวนั้น เก้งก้าง สูงกว่าพี่น้องคนอื่นๆ

ทำให้ใส่แล้ว ไม่พอดีตัว แต่ก็อยากใส่เพราะว่า ชุดมันสวยมากมายจริงๆ

"พอถึงคิวบัวจะใส่ ก็เก่า หมดพอดีสิ"

แล้วก็ทำสีหน้าเครียดนิดหนึ่งเพื่อเป็นการแจ้งเตือนให้ผู้เป็นพี่สาวได้ทราบความในใจ

"คอยดูน่ะ บัวจะไปฟ้องพ่อ ว่าต่อไปบัวจะขอเป็นพี่ใหญ่ ไม่ขอเป็น

น้องอีกแล้ว เสียเปรียบตลอดเลยอ่ะ"


(พ.ศ. 2508) ทางการได้แจ้งมาทางผู้ใหญ่บ้านมาเพื่อเป็นการแจ้งให้ประชาชมทุกคนได้ทราบว่า

"เด็กทุกคนที่เกิดหลังปี พ.ศ 2495 ทุกคนต้องเรียนหนังสือ เพื่อให้

อ่านออกเขียนได้ทุกคน เพื่อต่อไปในอนาคต คนไทยจะได้รู้หนังสือกันทุกคน"

ผู้เป็นผู้ใหญ่บ้านได้อ่านข้อความในกระดาษจดหมายที่เพิ่งได้รับมา

จากที่ว่าการอำเภอ เขาได้อ่านให้กับชาวบ้านที่พากันมาประชุมที่ศาลา

กลางหมู่บ้านของพ่อแก้วนั้น


ในวงอาหารเย็น พ่อแก้ว ก็ออกคำสั่งกับบุคคลในปกครองให้ได้ทราบทั่วกันว่า

"ทางการเขาได้สั่งให้คนไทยทุกคนต้องไปเรียนหนังสือ และพ่อจะ

ให้ น้องบัว และนัอง บารมี ไปเรียนหนังสือน่ะ"

ทุกคนนั้นต่างเงียบกันไปครู่หนึ่ง แม่มาลี ก็พูดขึ้นด้วยน้ำเสียงที่ค่อนข้างเป็นกังวล

"พ่อ แล้วใครจะช่วยฉันทำงานหล่ะพ่อ ลำพังไอ่สามคนนี่ มันจะไหวเหรอพ่อ"

พ่อแก้วก็หนักใจอยู่เหมือนกัน เพราะว่าทุกวันนี้ครอบครัวก็ลำบากข้าว

ปลาอาหารที่ต้องหามาเลี้ยงลูก ก็ขัดสนอยู่แล้ว ยังจะต้องเจียดให้ลูก

ไปโรงเรียนอีก เขานึกไม่ออกว่า จะให้ไปเรียนทำไม ไม่เห็นมีประโยชน์

อันใด ผู้หญิงเรียนไปก็เท่านั้น โตขึ้นก็ต้องเลี้ยงลูก

แต่ทางการเขาสั่งมาทางผู้ใหญ่บ้านแล้วจะทำยังไงดีหนอ
พ่อแก้วนึกในใจ (ดีน่ะลูกเราที่เกิดหลังปี พ.ศ. 2495 มีแค่สองคนไม่อย่างงั้น ไม่มีใครช่วยทำนาแน่ๆ)

"แล้วจะเอาเงินที่ไหนไปซื้อชุดนักเรียนให้ใส่ เหมือนลูกเจ้ก ที่ตลาด

ในตัวอำเภอ หล่ะ" ยิ่งนึกก็ยิ่งปวดห้ว

"แล้วยังจะกับข้าวกับปลาที่จะต้องห่อให้เด็กนำไปกินที่โรงเรียนอีก

แล้วเราจะทำยังไงกันต่อไปหล่ะพ่อ"

เพราะมันคือค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเพิ่มเติมรายจ่ายให้หนักมากขึ้นไปอีก

แก้วพลาสติกเก่าๆ ถูกยกเข้าใส่ปากผู้ชายวัยกลางคน สีหน้าหลัง

กินเหล้านั้น สุดแสนจะทรมาน แต่ทุกคนในวงเหล้าก็กระดกกันบ่อย

ครั้งเหลือเกิน ต่างก็พูดบ่นเสียงอ๋อแอ้พูดบ่นด้วยความเครียดในหัวอก

หัวใจคนยากคนจนว่า

"เอาไงว่ะ ทางการนี่ก็ยังไงน่ะ เงินจะซื้อ ปลาทู ปลาร้า ยังจะไม่

ค่อยมีอยู่แล้ว ยังจะให้เอาเงินไปซื้อหนังสือ สมุด ดินสอ ให้ลูกของข้า

ไปเรียนอีก ขูดเลือดกับปูชัดๆ "

"เห้ย มึงอย่าพูดเอ็ดไป ความถึงกำนัน เรื่องมันจะไปกันใหญ่ " อีกคนพูดขึ้นว่า

"ก็แน่หล่ะสิ ก็กำนันน่ะ เงินถุงเงินถังนี่หว่า แค่ออกเงินกู้ ทั้งไหนจะ

ให้กู้ข้าวมากินอีกหล่ะ เงินทองไม่ได้ขัดสนเหมือนเรานี่หว่า ก็ส่งลูกเรียนได้สิหว่ะ"


"พ่อจ๋า หนูไม่ไปเรียนก็ได้ให้บารมี ไปคนเดียวก็พอ"

พ่อแก้วจึงปลอบโยนลูกสาวคนเหนือนม ที่อายุ 12 ปีแล้ว แต่กำลังจะไปเรียนหนังสือชั้นประถม ปีที่ 1

"ไปเถ่อะลูก หนูจะได้อ่านออกเขียนได้ บางทีหนูจะได้นำพา

ครอบครัวของเราให้ได้ดิบดีเปลี่ยนจากชาวนา ไปมีอาชีพที่สร้างรายได้

มาขึ้นกว่านี้ก็ได้น่ะลูกน่ะ"

คำพูดของผู้เป็นพ่อนั้นยังดังก้องอยู่ในหัว อยู่ในความทรงจำของเด็กน้อย ติดตรึงแน่นมั่น อยู่ในความทรงจำไม่รู้ลืมเลือนในคำพูดแน่ะนำ ในครั้งนี้ของผู้เป็นพ่อ

แม่มาลี เดินเข้ามาพร้อมกับกระต็บข้าว 2 เถา พร้อมกับจูงมือลูกขายคนเล็กที่พึ่งจะอายุได้ 9 ขวบ แล้วบอกกับเด็กชายว่า

"หนูไปโรงเรียนกับพี่น่ะลูกน่ะ ตั้งใจเรียนหนังสือน่ะลูก เด็กน้อยก็

พยักหน้าตามคำสั่งแม่ แต่ก็ยังไม่เคยเข้าใจสิ่งใดเลยที่พ่อและแม่ของ

ตนพูดมาไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่



อกาลิโก
เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ : 13 ก.พ. 2556, 00:00:50 น.
แก้ไขครั้งล่าสุด : 24 ก.พ. 2556, 11:32:03 น.

จำนวนการเข้าชม : 945





   พยัญชนะ >>
เข้าระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็นด้วย weblove account