ทิพย์อสงไขย (The guardians)
ทิพย์อสงไขย (The guardians)
ดวงตาเจ้าดั่งดวงดาวที่ทอแสง
เหมือนกลั่นแกล้งวาดบรรจงให้หลงใหล
แล้วดวงใจเล่าหนอเจ้ารอใคร
จึ่งมิเคยมองหญิงใดในโลกา
และเราจะได้พบกับคำตอบของคำถาม ว่าเพราะเหตุใด เธียรวัฒน์จึงไม่เคยมอบหัวใจให้หญิงใดในโลกา จนกระทั่งในที่สุดก็ยินยอมมอบมันให้กับผู้หญิงที่เขาเฝ้ารอ
ทิพย์อสงไขยจะนำท่านย้อนเข้าในในหน้าประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้
ท่องเที่ยวไปในช่วงเวลาแห่งความผันผวนระหว่างสองราชสำนักที่ยิ่งใหญ่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ที่มีหงสารามัญเป็นเหตุแห่งชนวน
พร้อมพบกับความรักที่เกิดขึ้นท่ามกลางสงครามและความขัดแย้ง ระหว่างแม่ทัพแห่งราชสำนักอังวะ และนางมอญน้อยผู้ต้องการปกป้องแผ่นดินเกิดของตน
ไม่ต้องกลัวว่านิยายเรื่องนี้จะใช้ภาษาโบราณที่อ่านยาก (เพราะคนเขียนไม่ถนัดเหมือนกัน ^_^)
แต่จะเป็นนิยายโบราณที่เขียนด้วยภาษาค่อนข้างสมัยใหม่ เข้าใจง่าย อ่านได้เพลินๆค่ะ
ดวงตาเจ้าดั่งดวงดาวที่ทอแสง
เหมือนกลั่นแกล้งวาดบรรจงให้หลงใหล
แล้วดวงใจเล่าหนอเจ้ารอใคร
จึ่งมิเคยมองหญิงใดในโลกา
และเราจะได้พบกับคำตอบของคำถาม ว่าเพราะเหตุใด เธียรวัฒน์จึงไม่เคยมอบหัวใจให้หญิงใดในโลกา จนกระทั่งในที่สุดก็ยินยอมมอบมันให้กับผู้หญิงที่เขาเฝ้ารอ
ทิพย์อสงไขยจะนำท่านย้อนเข้าในในหน้าประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้
ท่องเที่ยวไปในช่วงเวลาแห่งความผันผวนระหว่างสองราชสำนักที่ยิ่งใหญ่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ที่มีหงสารามัญเป็นเหตุแห่งชนวน
พร้อมพบกับความรักที่เกิดขึ้นท่ามกลางสงครามและความขัดแย้ง ระหว่างแม่ทัพแห่งราชสำนักอังวะ และนางมอญน้อยผู้ต้องการปกป้องแผ่นดินเกิดของตน
ไม่ต้องกลัวว่านิยายเรื่องนี้จะใช้ภาษาโบราณที่อ่านยาก (เพราะคนเขียนไม่ถนัดเหมือนกัน ^_^)
แต่จะเป็นนิยายโบราณที่เขียนด้วยภาษาค่อนข้างสมัยใหม่ เข้าใจง่าย อ่านได้เพลินๆค่ะ
Tags: ผู้แต่งยังไม่ได้กำหนด tags ของนิยายเรื่องนี้
ตอน: บทที่ ๒ วิวาห์เหาะ
บทที่ ๒ วิวาห์เหาะ
ข้ามผ่านเทือกเขาตะนาวศรีที่กางกั้นเขตแดนระหว่างสองอาณาจักรตั้งแต่เหนือจรดใต้ ทวนกระแสน้ำอันกว้างใหญ่ ขึ้นไปยังตอนเหนือของแผ่นดินพุกามโบราณ ที่มีอายุนับเนื่องเป็นพันปี จนราวกับเป็นดินแดนแห่งตำนานที่ยังมีลมหายใจ ที่นี่คือที่ตั้งของอาณาจักรอันเกรียงไกรแห่งลุ่มน้ำอิระวดี
ริมน้ำคือที่ตั้งของปราสาทราชวังอันกว้างใหญ่ หมู่มหามณเฑียรหรือ ‘เปียตั๊ต’ สีทองภายในรั้วกำแพงวังสูงเด่นหลังคาเจ็ดชั้นซ้อนลดหลั่นขึ้นไป และรวมเป็นยอดแหลมสูงขึ้นไปบนฟ้า ประดับประดาด้วยอัญมณีล้ำค่า
สมญากรุง ‘รัตนะปุระอังวะ’
ณ ริมกำแพงอิฐของพระราชวังด้านใน มีอาคารไม้สักสูงจากพื้นดินประมาณ ๕ ศอก ตัวอาคารมีเสาไม้สักขนาดใหญ่ทาสีแดงที่โคนเสา และปิดทองส่วนบน ที่แห่งนี้คือที่ตั้งของสภาฮลุตตอร์แห่งราชสำนักอังวะ
ด้านในสุดของอาคารในยามนี้ มีพระเจ้าเซงพยูเช็ง กำลังประทับอยู่บนสิงหบัลลังค์ เพื่อออกว่าราชการสำคัญ
สองฟากของบัลลังค์แยกเป็นส่วนของที่นั่งของหวุ่นญี มหาเสนาบดีทั้งสี่ และข้าราชสำนักที่มาเข้าเฝ้าอย่างพร้อมเพรียง
เบื้องหน้าพระพักตร์ เจ้าเมืองทวายได้นำสาส์นเจรจาความเมืองจากพระยากาญจนบุรีที่ส่งมาถึงตน ขึ้นถวายต่อหน้าพระที่นั่ง ความว่า
“แม้ข้อว่ากรุงทวารวดีเป็นกรุงอยุธยาสืบมาแต่โบราณ เป็นที่ตั้งบวรพุทธศาสนาเป็นสัมมาทิฐิ นับถือพระรัตนไตรยาธิคุณเฉกเช่นเดียวกับกรุงรัตนะปุระอังวะ หากแม้กรุงใหญ่ใดจะคิดประทุษร้ายกัน ถึงแม้จะมีรี้พลทแกล้ว ทหาร ช้าง ม้า ร้อยพันหมื่นก็ดี ที่จะได้สำเร็จราชการเป็นสิทธิ์ขาดทีเดียวนั้นหามิได้ มีแต่จะเป็นโทษสืบกันไปไม่สิ้นสุด แลชมพูทวีปนี้กว้างถึงหมื่นโยชน์ อันสองราชสำนักไม่ควรที่จะเป็นปกปักษ์กันพอที่จะสำเร็จความเมืองได้”
เมื่อทรงได้ฟัง พระเจ้าเซงพยูเช็ง กษัตริย์รัชกาลที่สามแห่งราชวงศ์อลองพญาจึงตรัสต่อหน้าข้าราชสำนักให้ได้ยินทั่วกันว่า
“ถึงแม้จะเอ่ยกระนั้น แต่อย่างไรเสีย ทางราชสำนักอยุธยายาก็ยังดื้อดึงที่จะส่งกบฏมอญที่เหล่านั้นกลับคืนมาให้ ครั้นจะทำนิ่งเฉย ชาวมอญก็จะยังคงกระด้างกระเดื่อง แลตั้งต้นเป็นใหญ่เพื่อหวังกอบกู้หงสาวดีให้ฟื้นคืน โดยมีราชสำนักอยุธยาเป็นผู้หนุนหลัง เมื่อสองอาณาจักรกระทำเช่นนี้แล้ว ก็ย่อมไม่ต่างจากการท้าทายอำนาจของเรา อยุธยาจึงควรถูกพิชิต หากไม่เช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่สามารถกำราบแผ่นดินตอนใต้ให้สงบราบคาบได้ แต่ด้วยอยุธยาเป็นแคว้นใหญ่ในดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้ ย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถึงแม้ว่าจะต้องใช้ความอุตสาหะมากเท่าใด เราก็จะต้องทำให้อยุธยารวมเป็นปฐพีเดียวกับเราอีกครั้ง ดังเช่นในแผ่นดินพระเจ้าบุเรงนองกะยอดินนรธา”
ขุนนางน้อยใหญ่ทั้งหลาย จึงน้อมรับพระราชโองการโดยถ้วนหน้า
แม้ว่าการพิชิตแคว้นลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะเคยล้มเหลวในสมัยพระเจ้าอลองพญาผู้ทรงเป็นต้นราชวงศ์ แต่สงครามครั้งนี้ผลลัพธ์ย่อมไม่เหมือนครั้งที่แล้วอย่างแน่นอน
เมื่อเสด็จกลับเข้าฝ่ายใน ขุนนางทั้งหลายจึงนั่งปรึกษาหารือข้อราชการ บางกลุ่มก็ทยอยออกจากสภาไปทำหน้าที่ที่ยังคั่งค้างต่อ ระหว่างนั้นเสนาบดีอาวุโสท่านหนึ่ง ก็เห็นพอดีว่าข้าราชการในกองเสนาธิการทหารกำลังจะออกจากไปด้วยเช่นกัน จึงเรียก
“ประชุมราชการงานทัพ แล้วขุนพลทหารเอกไยจึงอยู่กันไม่ครบ ทหารเอกผู้พี่อยู่นี่ แล้วมังละสิริผู้น้องไปอยู่ไหนเสีย จึงไม่เห็นมาเข้าเฝ้า” หวุ่นจีผู้มากด้วยวัยเอ่ยกับเมียวมินท์ หนึ่งในทหารเอกของราชสำนักจากทั้งหมดยี่สิบนาย ซึ่งได้ผ่านการคัดเลือกให้มารับใช้ในราชการงานทัพ
ทั้งเมียวมินท์และน้องชายนั้น สืบสายเลือดมาจากทหารเอกคู่พระทัยของปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์อลองพญา ผู้เป็นพระราชบิดาของรัชกาลปัจจุบัน เคียงบ่าเคียงไหล่กันในสนามรบ ปราบปรามพวกเตลง ให้ออกจากแผ่นดินและถอยร่นกลับลงไปทางตอนใต้ของลุ่มน้ำอิระวดีได้สำเร็จ ทั้งยังปราบปรามเมืองฉานด้านเหนือ และอาระกันด้านตะวันตก จนรวมชาติเป็นปึกแผ่นได้ในที่สุด และสามารถสถาปนาราชวงค์ที่สามของดินแดนพุกาม ต่อจากราชวงศ์ตองอูที่ล่มสลายไปด้วยน้ำมือของพวกหงสารามัญได้
“ไปปราบมอญที่รุกรานเมืองแปรขอรับ แต่เมื่อวานมีม้าเร็วมาบอกว่า สมิงพระเธียรหนีไปได้ จึงว่าจะไล่ตามไปให้ทันก่อนจะข้ามแดนไปรวมกับรามัญก๊กอื่นที่โยเดีย”
เมียวมินท์ นายทหารหนุ่มรูปงามในวัยสามสิบปี อดีตหัวหน้ากองทหารม้าประจำการ ที่ตอนนี้ขึ้นเป็นตำแหน่งเสนาธิการทหารมาได้สักพักใหญ่ เอ่ยตอบผู้อาวุโสกว่าด้วยกิริยานอบน้อม บ่งบอกถึงการได้รับการอบรมมาแล้วเป็นอย่างดีจากผู้เป็นมารดา ซึ่งเป็นเจ้าหญิงจากแคว้นล้านนา
“แล้วจะสะกัดทันไหมหนอ” ผู้อาวุโสรำพึง เพราะหากข้ามแดนไปได้ ก็จะกลับไปซ่องสุมกำลังแล้วกลับมาก่อกบฏซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อหวังจะกอบกู้มาตุภูมิกรุงหงสาวดีคืนจากอังวะ จะปราบปรามเท่าใดก็ไม่หมดสิ้นเสียที เพราะมีอยุธยาเป็นที่หลบภัย
“แล้วนี่จะตรวจตราพระนครต่อรึ”
“ขอรับ” เมียวมินท์ตอบ
เหตุเพราะเพิ่งย้ายเมืองหลวงมาจากราชธานีเดิมคือ เมืองรัตนสิงห์ ข้าราชการหลายหน่วยกองจึงต้องช่วยกันดูแล
เรื่องการสร้างบ้านแปลนเมือง แม้ตัวเขาเองเองจะเป็นทหาร แต่ก็ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่วางผังเมืองให้รัดกุม และสร้างแนวกำแพงเมืองให้แน่นหนาตามอย่างวิชาทหาร เพื่อป้องกันภัยจากศัตรู นอกจากนี้องค์เซงพยูเช็งยังดำริจะสร้างศาสนสถานไว้เป็นพุทธบูชาและเป็นที่สักการะของไพร่ฟ้าราษฎรด้วย
วันนี้ทั้งวัน เขาก็คงจะวุ่นวายอยู่กับการตรวจตราตั้งแต่เช้าจรดค่ำ หากไม่ถูกเรียกตัวให้มาเข้าเฝ้าเสียก่อน
“เห็นว่ากำลังสร้างเจดีย์ใหญ่ไว้ที่ริมแม่น้ำด้วยรึ”
“ขอรับ เมื่อวานกระผมไปดู เห็นว่าดินริมแม่น้ำอ่อนเกินไป จึงว่าจะขุดหลุมให้ลึกมากขึ้น แล้วเอาต้นสักรองก้นหลุมเป็นฐานให้มากกว่าเดิมขอรับ”
เมียวมินท์เอ่ย และที่บอกว่าจะวางต้นสักลงไปในหลุมแบบสับหว่างกันระหว่างแนวตั้งกับแนวนอนนั้นซ้อนกันเป็นชั้นๆจนเต็มหลุมนั้น เห็นทีจะยังไม่พอ จึงสั่งให้นำต้นทุกต้นมาเจาะรูแล้วสอดโซ่เอาไว้ตรงกลาง จากนั้นจึงจะนำโซ่มามัดเข้าด้วยกันเพื่อยึดต้นสักเอาไว้ รากฐานจึงจะแข็งแกร่งมั่นคง ก่อนจะปลูกสร้างเจดียสถานขึ้นต่อไปได้ ที่ทำเช่นนี้ไม่ใช่กลัวว่าฐานเจดีย์จะทรุดเพราะเนื้อดินริมน้ำ แต่เพราะเกรงเรื่องแผ่นดินไหว ดังที่เคยเกิดขึ้นในท้ายรัชกาลพระเจ้าอลองพญา
“เมียวมินท์”
“ขอรับ” เมื่อเห็นว่าเป็นใคร ชายหนุ่มจึงก้มคำนับอย่างนอบน้อม เพราะผู้ที่มาคือ ‘สิริอุชนะ’ ผู้รับใช้ใกล้ชิดเบื้องบาทของพระเจ้าอลองพญาปฐมกษัตริย์ ทั้งยังเป็นเสนาบดีเก่าของพระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดี ผู้ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชสำนักตองอู ท่านจึงเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยฟื้นฟูระเบียบแบบแผนพระราชพิธีและตำราสำคัญ ที่สืบเนื่องกันมายาวนานจากมหาราชวงศ์ก่อนๆ หลังจากที่ถูกรามัญรุนรานและเผาทำลายไป
และที่สำคัญ ท่านคืออาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้เขาตั้งแต่เยาว์วัย ผู้เฒ่าเองก็มีแววตาชื่นชมศิษย์รักอย่างไม่ปิดบัง
“วันนี้ไปหอตำราหลวงมา เลยเจอตำราที่เจ้าน่าจะสนใจศึกษา” ผู้สูงวัยกว่ายื่นคัมภีร์ในมือให้หนึ่งเล่ม
“โยธยายาสะวิน พงศาวดารโบราณของราชสำนักอยุธยา ตั้งแต่สมัยพระเจ้าชนะสิบทิศ ท่านสั่งให้คัดลอกมาจากที่นั่น เมื่อครั้งที่ยกทัพไปยังอยุธยาในรัชกาลของท่าน เจ้าจะได้รู้จักเขาให้มากที่สุด”
“ขอรับท่านอาจารย์”
“เหนื่อยหน่อยนะ เพราะเห็นมีกระแสรับสั่งว่าจะนำทัพไปยึดครองอยุธยาให้ได้ตามพระราชดำริของพระบิดา”
“ขอรับ” เขารับคำ พร้อมกับรับตำราฉบับคัดลอกนั้นมา แม้ในใจจะเต็มไปด้วยความสงสัย เพราะยังไม่ได้มีการวางแผนการเดินทัพ หรือให้ผู้ใดเป็นผู้นำทัพหน้าหรือแม้แต่หน้าที่อื่นแต่อย่างใด แต่ใครจะล่วงรู้เล่า ในเมื่อท่านสิริอุชนะ เชี่ยวชำนาญในด้านโหราศาสตร์เป็นยิ่งนัก ท่านอาจจะมองเห็นแล้วก็เป็นได้ว่าเขาต้องมีส่วนร่วมในการสงครามครั้งนี้
“แล้วนี่น้องเจ้าไปไหนเสียเล่า เมื่อไม่กี่วันก่อนยังไปนั่งเล่นซองเกาะเยาะเย้ยคู่อริที่ท่าเรืออยู่เลย”
“ไปปราบกบฏมอญขอรับ ก็เห็นว่าจะไปสะกัดให้ได้ก่อนถึงด่านสิงขร” เมียวมินท์ตอบไปก็กลั้นขำไป
“น้องเจ้าต้องออกตระเวนไปทั่ว เห็นทีจะออกเรือนยากเสียแล้ว ไม่เหมือนเจ้าที่ต้องอยู่รักษาพระนคร” หวุ่นจีเสนาบดีคนเดิมเอ่ย
เพราะผู้พี่นี้ แม้จะเป็นลูกทหาร แต่ก็เป็นปราชญ์ทางด้านการก่อสร้างและการวางรากฐานเมือง จึงต้องอยู่ตรวจตราพระนครแห่งใหม่ ต่างกับผู้น้องที่ดูจะเอาแน่เอานอนอะไรไม่ค่อยจะได้ บางทีก็เป็นหนุ่มเจ้าสำราญ บางทีก็เป็นคนชอบพาลหาเรื่องคน หากจะให้มานั่งสำรวมกิริยาเหมือนผู้พี่ ก็ดูจะสามวันดีสี่วันไข้อย่างไรพิกลอยู่ แต่ละวันมารดาทั้งคู่ถึงต้องพร่ำบ่นตั้งแต่ไก่ยันไม่ขันยันตะวันตกดิน
“กระผมไม่คิดจะออกเรือนเลยขอรับ” เมียวมินท์เอ่ยด้วยรอยยิ้ม ในความคิดของเขานั้น ตำรับตำราดูน่าค้นหาเสียยิ่งกว่าหญิงงามใดๆในอังวะ
เมื่อเห็นศิษย์รักกล่าวอย่างมั่นอกมั่นใจอย่างนั้น ผู้เป็นอาจารย์ก็หัวเราะ
“ถึงไม่คิด คนอื่นเขาก็คิดให้อยู่ดี ไม่อยากแต่งก็จะได้แต่งเร็วๆนี้ล่ะ ไม่ใช่แต่งธรรมดาด้วยนะ ชาวโยเดียเรียกว่า วิวาห์เหาะ”
นายทหารหนุ่มไม่เข้าใจว่าเหตุใดอาจารย์ของเขาจึงได้ตลกขบขันนึก หรือจะมองเห็นว่าอะไรจะเกิดขึ้นในชีวิตของเขาอีก และยิ่งไม่เข้าใจว่า ‘วิวาห์เหาะ’ หมายถึงสิ่งใด ทั้งที่เขาก็เข้าใจภาษาของชาวโยเดีย เนื่องจากใกล้เคียงกับภาษาล้านนาที่มารดาเขาพูด
แต่ยังไม่ทันจะได้ถามต่อ ก็มีนายทหารวิ่งเข้ามาหา
“อู เมียวมินท์ขอรับ”
“มีอะไร”
“ฝ่าบาททรงมีราชการด่วนให้ท่านไปเดี๋ยวนี้ขอรับ”
“ไปไหน”
“อาระกันโยมาขอรับ” นั่นคือเทือกเขาสูงที่กั้นระหว่างดินแดนพุกามกับอาระกันอันห่างไกล
“แล้วใครจะดูเรื่องสร้างพระนคร”
“ฝ่าบาทมีรับสั่งให้ท่านหวุ่นดูแลแทนไปก่อนขอรับ”
“แล้วต้องไปทำอะไร”
“ทรงได้ข่าวว่าเชื้อพระวงศ์ตองตูที่หนีออกมาจากหงสาวดี กำลังจะข้ามอาระกันโยมาเพื่อไปถวายตัวแด่พระเจ้าเวสาลี ทรงเกรงว่าจะมีการสั่งสมอำนาจเพื่อกลับมาตั้งราชวงศ์ตองอูให้กลับมาเป็นใหญ่อีก จึงมีรับสั่งให้ เอ่อ ให้ เอ่อ....”
“ให้ทำอะไร” เมียวมินท์ขมวดคิ้วรอฟัง ว่าเมื่อไหร่จะพูดออกมาได้ซักที
“ให้...ท่านไปเชิญตัวท่านหญิงพญาจีมา มาเพื่อ...เอ่อ เพื่อ...”
เขาขมวดคิ้วเมื่อทหารจะพูดก็ไม่พูดให้จบ
“มา...เอ่อ มาร่วมหอกับท่านขอรับ”
ผู้นำรับสั่งของพระเจ้าเซงพยูเช็งเอ่ยออกมาในที่สุด ด้วยสีหน้าที่ลำบากใจ
ท่านผู้เฒ่าสิริอุชนะโหราจารย์หัวเราะชอบใจ
‘เห็นไหม พูดยังไม่ทันขาดคำ!’
ผู้ซึ่งต้องน้อมรับราชโองการอึ้งไปพักใหญ่
“เชื้อสายราชวงศ์ตองอูนั้นสำคัญอยู่ไม่น้อย หากว่ารวมกันกับเราได้ ก็ย่อมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับชาวอังวะได้มากยิ่งขึ้น” เสนาบดีผู้สูงวัยกล่าวเตือนสติทหารหนุ่มเช่นคนอาบน้ำร้อนมาก่อน
“จงเห็นแก่บ้านเมืองเป็นหลัก และเอาความรู้สึกส่วนตัวเป็นรอง”
เมียวมินท์ได้แต่ทำตาปริบๆ แม้จะขัดใจอย่างใหญ่หลวง แต่ก็ไม่อาจขัดรับสั่งได้
แม้หวุ่นจีจะตักเตือนด้วยสีหน้าเอาจริงเอาจัง แต่พอลับหลัง ผู้อาวุโสทั้งสองก็มองหน้ากันแล้วแอบหัวเราะ เมื่อนายทหารเอกเดินหัวฟัดหัวเหวี่ยงออกไปจากเขตสภาลุตตอร์ เพื่อเตรียมม้าและทหารผู้ติดตาม โดยมีจุดหมายคือเทือกเขาอาระกันอันเป็นแดนต่อกับแคว้นเวสาลี
ศิริอุชนะหันไปเอ่ยกับหวุ่นจีอย่างขำขันทิ้งทาย
“ลูกชายบ้านนี้ไม่มีใครได้ไปสู่ขอแต่งเมียกันดีๆหรอก วิวาห์เหาะกันทั้งบ้าน!”
******
หมายเหตุ
พระเจ้าเซงพยูเช็ง เป็นอีกพระนามของพระเจ้ามังระ
หวุ่นจี คือตำแหน่งเสนาบดีใหญ่ของราชสำนักอังวะ
อู เเปลว่า ท่าน
เตลง คือ มอญ หรือ รามัญ
ตองอู คือราชวงค์ก่อนหน้าราชวงศ์อลองพญา แต่ถูกมอญโค่นล้มและจับตัวไปกักขังยังหงสาวดี เมืองหลวงของมอญ
แต่พระเจ้าอลองพญาซึ่งขณะนั้นเป็นสามัญชน ได้เข้าตีมอญจนชนะ และสถาปนาราชวงค์อลองพญาขึ้น เชื่อพระวงค์ตองอูจึงกินแหนงแคลงใจ แต่สุดท้ายก็ไม่อาจฟื้นฟูราชวงศ์ได้อีกครั้้ง
ขอบคุณทุกท่านที่ตัดตามและฝากเม้นท์เป็นกำลังใจด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ ^_^
ข้ามผ่านเทือกเขาตะนาวศรีที่กางกั้นเขตแดนระหว่างสองอาณาจักรตั้งแต่เหนือจรดใต้ ทวนกระแสน้ำอันกว้างใหญ่ ขึ้นไปยังตอนเหนือของแผ่นดินพุกามโบราณ ที่มีอายุนับเนื่องเป็นพันปี จนราวกับเป็นดินแดนแห่งตำนานที่ยังมีลมหายใจ ที่นี่คือที่ตั้งของอาณาจักรอันเกรียงไกรแห่งลุ่มน้ำอิระวดี
ริมน้ำคือที่ตั้งของปราสาทราชวังอันกว้างใหญ่ หมู่มหามณเฑียรหรือ ‘เปียตั๊ต’ สีทองภายในรั้วกำแพงวังสูงเด่นหลังคาเจ็ดชั้นซ้อนลดหลั่นขึ้นไป และรวมเป็นยอดแหลมสูงขึ้นไปบนฟ้า ประดับประดาด้วยอัญมณีล้ำค่า
สมญากรุง ‘รัตนะปุระอังวะ’
ณ ริมกำแพงอิฐของพระราชวังด้านใน มีอาคารไม้สักสูงจากพื้นดินประมาณ ๕ ศอก ตัวอาคารมีเสาไม้สักขนาดใหญ่ทาสีแดงที่โคนเสา และปิดทองส่วนบน ที่แห่งนี้คือที่ตั้งของสภาฮลุตตอร์แห่งราชสำนักอังวะ
ด้านในสุดของอาคารในยามนี้ มีพระเจ้าเซงพยูเช็ง กำลังประทับอยู่บนสิงหบัลลังค์ เพื่อออกว่าราชการสำคัญ
สองฟากของบัลลังค์แยกเป็นส่วนของที่นั่งของหวุ่นญี มหาเสนาบดีทั้งสี่ และข้าราชสำนักที่มาเข้าเฝ้าอย่างพร้อมเพรียง
เบื้องหน้าพระพักตร์ เจ้าเมืองทวายได้นำสาส์นเจรจาความเมืองจากพระยากาญจนบุรีที่ส่งมาถึงตน ขึ้นถวายต่อหน้าพระที่นั่ง ความว่า
“แม้ข้อว่ากรุงทวารวดีเป็นกรุงอยุธยาสืบมาแต่โบราณ เป็นที่ตั้งบวรพุทธศาสนาเป็นสัมมาทิฐิ นับถือพระรัตนไตรยาธิคุณเฉกเช่นเดียวกับกรุงรัตนะปุระอังวะ หากแม้กรุงใหญ่ใดจะคิดประทุษร้ายกัน ถึงแม้จะมีรี้พลทแกล้ว ทหาร ช้าง ม้า ร้อยพันหมื่นก็ดี ที่จะได้สำเร็จราชการเป็นสิทธิ์ขาดทีเดียวนั้นหามิได้ มีแต่จะเป็นโทษสืบกันไปไม่สิ้นสุด แลชมพูทวีปนี้กว้างถึงหมื่นโยชน์ อันสองราชสำนักไม่ควรที่จะเป็นปกปักษ์กันพอที่จะสำเร็จความเมืองได้”
เมื่อทรงได้ฟัง พระเจ้าเซงพยูเช็ง กษัตริย์รัชกาลที่สามแห่งราชวงศ์อลองพญาจึงตรัสต่อหน้าข้าราชสำนักให้ได้ยินทั่วกันว่า
“ถึงแม้จะเอ่ยกระนั้น แต่อย่างไรเสีย ทางราชสำนักอยุธยายาก็ยังดื้อดึงที่จะส่งกบฏมอญที่เหล่านั้นกลับคืนมาให้ ครั้นจะทำนิ่งเฉย ชาวมอญก็จะยังคงกระด้างกระเดื่อง แลตั้งต้นเป็นใหญ่เพื่อหวังกอบกู้หงสาวดีให้ฟื้นคืน โดยมีราชสำนักอยุธยาเป็นผู้หนุนหลัง เมื่อสองอาณาจักรกระทำเช่นนี้แล้ว ก็ย่อมไม่ต่างจากการท้าทายอำนาจของเรา อยุธยาจึงควรถูกพิชิต หากไม่เช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่สามารถกำราบแผ่นดินตอนใต้ให้สงบราบคาบได้ แต่ด้วยอยุธยาเป็นแคว้นใหญ่ในดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้ ย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถึงแม้ว่าจะต้องใช้ความอุตสาหะมากเท่าใด เราก็จะต้องทำให้อยุธยารวมเป็นปฐพีเดียวกับเราอีกครั้ง ดังเช่นในแผ่นดินพระเจ้าบุเรงนองกะยอดินนรธา”
ขุนนางน้อยใหญ่ทั้งหลาย จึงน้อมรับพระราชโองการโดยถ้วนหน้า
แม้ว่าการพิชิตแคว้นลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะเคยล้มเหลวในสมัยพระเจ้าอลองพญาผู้ทรงเป็นต้นราชวงศ์ แต่สงครามครั้งนี้ผลลัพธ์ย่อมไม่เหมือนครั้งที่แล้วอย่างแน่นอน
เมื่อเสด็จกลับเข้าฝ่ายใน ขุนนางทั้งหลายจึงนั่งปรึกษาหารือข้อราชการ บางกลุ่มก็ทยอยออกจากสภาไปทำหน้าที่ที่ยังคั่งค้างต่อ ระหว่างนั้นเสนาบดีอาวุโสท่านหนึ่ง ก็เห็นพอดีว่าข้าราชการในกองเสนาธิการทหารกำลังจะออกจากไปด้วยเช่นกัน จึงเรียก
“ประชุมราชการงานทัพ แล้วขุนพลทหารเอกไยจึงอยู่กันไม่ครบ ทหารเอกผู้พี่อยู่นี่ แล้วมังละสิริผู้น้องไปอยู่ไหนเสีย จึงไม่เห็นมาเข้าเฝ้า” หวุ่นจีผู้มากด้วยวัยเอ่ยกับเมียวมินท์ หนึ่งในทหารเอกของราชสำนักจากทั้งหมดยี่สิบนาย ซึ่งได้ผ่านการคัดเลือกให้มารับใช้ในราชการงานทัพ
ทั้งเมียวมินท์และน้องชายนั้น สืบสายเลือดมาจากทหารเอกคู่พระทัยของปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์อลองพญา ผู้เป็นพระราชบิดาของรัชกาลปัจจุบัน เคียงบ่าเคียงไหล่กันในสนามรบ ปราบปรามพวกเตลง ให้ออกจากแผ่นดินและถอยร่นกลับลงไปทางตอนใต้ของลุ่มน้ำอิระวดีได้สำเร็จ ทั้งยังปราบปรามเมืองฉานด้านเหนือ และอาระกันด้านตะวันตก จนรวมชาติเป็นปึกแผ่นได้ในที่สุด และสามารถสถาปนาราชวงค์ที่สามของดินแดนพุกาม ต่อจากราชวงศ์ตองอูที่ล่มสลายไปด้วยน้ำมือของพวกหงสารามัญได้
“ไปปราบมอญที่รุกรานเมืองแปรขอรับ แต่เมื่อวานมีม้าเร็วมาบอกว่า สมิงพระเธียรหนีไปได้ จึงว่าจะไล่ตามไปให้ทันก่อนจะข้ามแดนไปรวมกับรามัญก๊กอื่นที่โยเดีย”
เมียวมินท์ นายทหารหนุ่มรูปงามในวัยสามสิบปี อดีตหัวหน้ากองทหารม้าประจำการ ที่ตอนนี้ขึ้นเป็นตำแหน่งเสนาธิการทหารมาได้สักพักใหญ่ เอ่ยตอบผู้อาวุโสกว่าด้วยกิริยานอบน้อม บ่งบอกถึงการได้รับการอบรมมาแล้วเป็นอย่างดีจากผู้เป็นมารดา ซึ่งเป็นเจ้าหญิงจากแคว้นล้านนา
“แล้วจะสะกัดทันไหมหนอ” ผู้อาวุโสรำพึง เพราะหากข้ามแดนไปได้ ก็จะกลับไปซ่องสุมกำลังแล้วกลับมาก่อกบฏซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อหวังจะกอบกู้มาตุภูมิกรุงหงสาวดีคืนจากอังวะ จะปราบปรามเท่าใดก็ไม่หมดสิ้นเสียที เพราะมีอยุธยาเป็นที่หลบภัย
“แล้วนี่จะตรวจตราพระนครต่อรึ”
“ขอรับ” เมียวมินท์ตอบ
เหตุเพราะเพิ่งย้ายเมืองหลวงมาจากราชธานีเดิมคือ เมืองรัตนสิงห์ ข้าราชการหลายหน่วยกองจึงต้องช่วยกันดูแล
เรื่องการสร้างบ้านแปลนเมือง แม้ตัวเขาเองเองจะเป็นทหาร แต่ก็ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่วางผังเมืองให้รัดกุม และสร้างแนวกำแพงเมืองให้แน่นหนาตามอย่างวิชาทหาร เพื่อป้องกันภัยจากศัตรู นอกจากนี้องค์เซงพยูเช็งยังดำริจะสร้างศาสนสถานไว้เป็นพุทธบูชาและเป็นที่สักการะของไพร่ฟ้าราษฎรด้วย
วันนี้ทั้งวัน เขาก็คงจะวุ่นวายอยู่กับการตรวจตราตั้งแต่เช้าจรดค่ำ หากไม่ถูกเรียกตัวให้มาเข้าเฝ้าเสียก่อน
“เห็นว่ากำลังสร้างเจดีย์ใหญ่ไว้ที่ริมแม่น้ำด้วยรึ”
“ขอรับ เมื่อวานกระผมไปดู เห็นว่าดินริมแม่น้ำอ่อนเกินไป จึงว่าจะขุดหลุมให้ลึกมากขึ้น แล้วเอาต้นสักรองก้นหลุมเป็นฐานให้มากกว่าเดิมขอรับ”
เมียวมินท์เอ่ย และที่บอกว่าจะวางต้นสักลงไปในหลุมแบบสับหว่างกันระหว่างแนวตั้งกับแนวนอนนั้นซ้อนกันเป็นชั้นๆจนเต็มหลุมนั้น เห็นทีจะยังไม่พอ จึงสั่งให้นำต้นทุกต้นมาเจาะรูแล้วสอดโซ่เอาไว้ตรงกลาง จากนั้นจึงจะนำโซ่มามัดเข้าด้วยกันเพื่อยึดต้นสักเอาไว้ รากฐานจึงจะแข็งแกร่งมั่นคง ก่อนจะปลูกสร้างเจดียสถานขึ้นต่อไปได้ ที่ทำเช่นนี้ไม่ใช่กลัวว่าฐานเจดีย์จะทรุดเพราะเนื้อดินริมน้ำ แต่เพราะเกรงเรื่องแผ่นดินไหว ดังที่เคยเกิดขึ้นในท้ายรัชกาลพระเจ้าอลองพญา
“เมียวมินท์”
“ขอรับ” เมื่อเห็นว่าเป็นใคร ชายหนุ่มจึงก้มคำนับอย่างนอบน้อม เพราะผู้ที่มาคือ ‘สิริอุชนะ’ ผู้รับใช้ใกล้ชิดเบื้องบาทของพระเจ้าอลองพญาปฐมกษัตริย์ ทั้งยังเป็นเสนาบดีเก่าของพระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดี ผู้ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชสำนักตองอู ท่านจึงเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยฟื้นฟูระเบียบแบบแผนพระราชพิธีและตำราสำคัญ ที่สืบเนื่องกันมายาวนานจากมหาราชวงศ์ก่อนๆ หลังจากที่ถูกรามัญรุนรานและเผาทำลายไป
และที่สำคัญ ท่านคืออาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้เขาตั้งแต่เยาว์วัย ผู้เฒ่าเองก็มีแววตาชื่นชมศิษย์รักอย่างไม่ปิดบัง
“วันนี้ไปหอตำราหลวงมา เลยเจอตำราที่เจ้าน่าจะสนใจศึกษา” ผู้สูงวัยกว่ายื่นคัมภีร์ในมือให้หนึ่งเล่ม
“โยธยายาสะวิน พงศาวดารโบราณของราชสำนักอยุธยา ตั้งแต่สมัยพระเจ้าชนะสิบทิศ ท่านสั่งให้คัดลอกมาจากที่นั่น เมื่อครั้งที่ยกทัพไปยังอยุธยาในรัชกาลของท่าน เจ้าจะได้รู้จักเขาให้มากที่สุด”
“ขอรับท่านอาจารย์”
“เหนื่อยหน่อยนะ เพราะเห็นมีกระแสรับสั่งว่าจะนำทัพไปยึดครองอยุธยาให้ได้ตามพระราชดำริของพระบิดา”
“ขอรับ” เขารับคำ พร้อมกับรับตำราฉบับคัดลอกนั้นมา แม้ในใจจะเต็มไปด้วยความสงสัย เพราะยังไม่ได้มีการวางแผนการเดินทัพ หรือให้ผู้ใดเป็นผู้นำทัพหน้าหรือแม้แต่หน้าที่อื่นแต่อย่างใด แต่ใครจะล่วงรู้เล่า ในเมื่อท่านสิริอุชนะ เชี่ยวชำนาญในด้านโหราศาสตร์เป็นยิ่งนัก ท่านอาจจะมองเห็นแล้วก็เป็นได้ว่าเขาต้องมีส่วนร่วมในการสงครามครั้งนี้
“แล้วนี่น้องเจ้าไปไหนเสียเล่า เมื่อไม่กี่วันก่อนยังไปนั่งเล่นซองเกาะเยาะเย้ยคู่อริที่ท่าเรืออยู่เลย”
“ไปปราบกบฏมอญขอรับ ก็เห็นว่าจะไปสะกัดให้ได้ก่อนถึงด่านสิงขร” เมียวมินท์ตอบไปก็กลั้นขำไป
“น้องเจ้าต้องออกตระเวนไปทั่ว เห็นทีจะออกเรือนยากเสียแล้ว ไม่เหมือนเจ้าที่ต้องอยู่รักษาพระนคร” หวุ่นจีเสนาบดีคนเดิมเอ่ย
เพราะผู้พี่นี้ แม้จะเป็นลูกทหาร แต่ก็เป็นปราชญ์ทางด้านการก่อสร้างและการวางรากฐานเมือง จึงต้องอยู่ตรวจตราพระนครแห่งใหม่ ต่างกับผู้น้องที่ดูจะเอาแน่เอานอนอะไรไม่ค่อยจะได้ บางทีก็เป็นหนุ่มเจ้าสำราญ บางทีก็เป็นคนชอบพาลหาเรื่องคน หากจะให้มานั่งสำรวมกิริยาเหมือนผู้พี่ ก็ดูจะสามวันดีสี่วันไข้อย่างไรพิกลอยู่ แต่ละวันมารดาทั้งคู่ถึงต้องพร่ำบ่นตั้งแต่ไก่ยันไม่ขันยันตะวันตกดิน
“กระผมไม่คิดจะออกเรือนเลยขอรับ” เมียวมินท์เอ่ยด้วยรอยยิ้ม ในความคิดของเขานั้น ตำรับตำราดูน่าค้นหาเสียยิ่งกว่าหญิงงามใดๆในอังวะ
เมื่อเห็นศิษย์รักกล่าวอย่างมั่นอกมั่นใจอย่างนั้น ผู้เป็นอาจารย์ก็หัวเราะ
“ถึงไม่คิด คนอื่นเขาก็คิดให้อยู่ดี ไม่อยากแต่งก็จะได้แต่งเร็วๆนี้ล่ะ ไม่ใช่แต่งธรรมดาด้วยนะ ชาวโยเดียเรียกว่า วิวาห์เหาะ”
นายทหารหนุ่มไม่เข้าใจว่าเหตุใดอาจารย์ของเขาจึงได้ตลกขบขันนึก หรือจะมองเห็นว่าอะไรจะเกิดขึ้นในชีวิตของเขาอีก และยิ่งไม่เข้าใจว่า ‘วิวาห์เหาะ’ หมายถึงสิ่งใด ทั้งที่เขาก็เข้าใจภาษาของชาวโยเดีย เนื่องจากใกล้เคียงกับภาษาล้านนาที่มารดาเขาพูด
แต่ยังไม่ทันจะได้ถามต่อ ก็มีนายทหารวิ่งเข้ามาหา
“อู เมียวมินท์ขอรับ”
“มีอะไร”
“ฝ่าบาททรงมีราชการด่วนให้ท่านไปเดี๋ยวนี้ขอรับ”
“ไปไหน”
“อาระกันโยมาขอรับ” นั่นคือเทือกเขาสูงที่กั้นระหว่างดินแดนพุกามกับอาระกันอันห่างไกล
“แล้วใครจะดูเรื่องสร้างพระนคร”
“ฝ่าบาทมีรับสั่งให้ท่านหวุ่นดูแลแทนไปก่อนขอรับ”
“แล้วต้องไปทำอะไร”
“ทรงได้ข่าวว่าเชื้อพระวงศ์ตองตูที่หนีออกมาจากหงสาวดี กำลังจะข้ามอาระกันโยมาเพื่อไปถวายตัวแด่พระเจ้าเวสาลี ทรงเกรงว่าจะมีการสั่งสมอำนาจเพื่อกลับมาตั้งราชวงศ์ตองอูให้กลับมาเป็นใหญ่อีก จึงมีรับสั่งให้ เอ่อ ให้ เอ่อ....”
“ให้ทำอะไร” เมียวมินท์ขมวดคิ้วรอฟัง ว่าเมื่อไหร่จะพูดออกมาได้ซักที
“ให้...ท่านไปเชิญตัวท่านหญิงพญาจีมา มาเพื่อ...เอ่อ เพื่อ...”
เขาขมวดคิ้วเมื่อทหารจะพูดก็ไม่พูดให้จบ
“มา...เอ่อ มาร่วมหอกับท่านขอรับ”
ผู้นำรับสั่งของพระเจ้าเซงพยูเช็งเอ่ยออกมาในที่สุด ด้วยสีหน้าที่ลำบากใจ
ท่านผู้เฒ่าสิริอุชนะโหราจารย์หัวเราะชอบใจ
‘เห็นไหม พูดยังไม่ทันขาดคำ!’
ผู้ซึ่งต้องน้อมรับราชโองการอึ้งไปพักใหญ่
“เชื้อสายราชวงศ์ตองอูนั้นสำคัญอยู่ไม่น้อย หากว่ารวมกันกับเราได้ ก็ย่อมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับชาวอังวะได้มากยิ่งขึ้น” เสนาบดีผู้สูงวัยกล่าวเตือนสติทหารหนุ่มเช่นคนอาบน้ำร้อนมาก่อน
“จงเห็นแก่บ้านเมืองเป็นหลัก และเอาความรู้สึกส่วนตัวเป็นรอง”
เมียวมินท์ได้แต่ทำตาปริบๆ แม้จะขัดใจอย่างใหญ่หลวง แต่ก็ไม่อาจขัดรับสั่งได้
แม้หวุ่นจีจะตักเตือนด้วยสีหน้าเอาจริงเอาจัง แต่พอลับหลัง ผู้อาวุโสทั้งสองก็มองหน้ากันแล้วแอบหัวเราะ เมื่อนายทหารเอกเดินหัวฟัดหัวเหวี่ยงออกไปจากเขตสภาลุตตอร์ เพื่อเตรียมม้าและทหารผู้ติดตาม โดยมีจุดหมายคือเทือกเขาอาระกันอันเป็นแดนต่อกับแคว้นเวสาลี
ศิริอุชนะหันไปเอ่ยกับหวุ่นจีอย่างขำขันทิ้งทาย
“ลูกชายบ้านนี้ไม่มีใครได้ไปสู่ขอแต่งเมียกันดีๆหรอก วิวาห์เหาะกันทั้งบ้าน!”
******
หมายเหตุ
พระเจ้าเซงพยูเช็ง เป็นอีกพระนามของพระเจ้ามังระ
หวุ่นจี คือตำแหน่งเสนาบดีใหญ่ของราชสำนักอังวะ
อู เเปลว่า ท่าน
เตลง คือ มอญ หรือ รามัญ
ตองอู คือราชวงค์ก่อนหน้าราชวงศ์อลองพญา แต่ถูกมอญโค่นล้มและจับตัวไปกักขังยังหงสาวดี เมืองหลวงของมอญ
แต่พระเจ้าอลองพญาซึ่งขณะนั้นเป็นสามัญชน ได้เข้าตีมอญจนชนะ และสถาปนาราชวงค์อลองพญาขึ้น เชื่อพระวงค์ตองอูจึงกินแหนงแคลงใจ แต่สุดท้ายก็ไม่อาจฟื้นฟูราชวงศ์ได้อีกครั้้ง
ขอบคุณทุกท่านที่ตัดตามและฝากเม้นท์เป็นกำลังใจด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ ^_^
นาวาร้อยกวี
เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ : 4 ธ.ค. 2559, 22:47:48 น.
แก้ไขครั้งล่าสุด : 5 ธ.ค. 2559, 09:02:23 น.
จำนวนการเข้าชม : 3973
<< บทที่ ๑ คำสาป | บทที่ ๓ สมิงพระเธียร (100%) >> |
แว่นใส 4 ธ.ค. 2559, 23:39:28 น.
อ่าฮะ คู่พี่ชายออกมาแล้วหรือเปล่านะ
อ่าฮะ คู่พี่ชายออกมาแล้วหรือเปล่านะ
Zephyr 5 ธ.ค. 2559, 00:45:16 น.
ติดตามต่อค่ะ
ติดตามต่อค่ะ
goldensun 6 ธ.ค. 2559, 19:15:29 น.
เรื่องนี้มีเนเมียวสีหบดี กับมังมหานรธาด้วยรึเปล่าคะ
มีทั้งสมิงพระเธียร ทั้งอูอองเทียนเลย อองเทียนนี่ น้องของเมียวมินท์ ใช่มั้ยคะ
เรื่องนี้มีเนเมียวสีหบดี กับมังมหานรธาด้วยรึเปล่าคะ
มีทั้งสมิงพระเธียร ทั้งอูอองเทียนเลย อองเทียนนี่ น้องของเมียวมินท์ ใช่มั้ยคะ
คิมหันตุ์ 10 ธ.ค. 2559, 13:59:38 น.
กรี้ดกร้าดดด เหมือนได้เรียนประวัติศาสตร์อีกครั้ง ตื่นเต้นจริม
กรี้ดกร้าดดด เหมือนได้เรียนประวัติศาสตร์อีกครั้ง ตื่นเต้นจริม